top of page

Design Inspiring Node

OPEN JACK'S MACHINE


Perhaps most people assume that the enjoyment behind creative projects by Jack, Pitupong Chaowakul, Supermachine Studio’s principal, has originated by working on innovative or distinctive designs which tend to lead the trends. In fact, Jack’s pleasure in working lies in doing what he has never done before. This, however, is not necessarily to be something anyone else has never created; stuff that keeps him away from boredom and making working life fun, explained Jack.

Personally, Jack reckons part of his work could act like a critique on Thai society instead of focusing solely on solving problems for the public or clients. Jack adds that architects should be increasingly focused on aquatic topics since we suffered from last year’s massive flood. Although he doesn’t believe in the end of the world argument, he agrees with Steve Jobs regarding how we treat everyday as if it’s our last day. It doesn’t matter if things you do aren’t building up for the better world but it is all about doing what you’ve never done in your life.

One of his own favorite projects is The Pixel Wall at Bangkok University Creative Center (BUCC). This wall is composed of strings of colourful plastic pixels that constantly change not by mechanical control, but by letting people primitively change them with their own hands. Students are able to leave messages by turning each piece until it becomes the word they would like to convey such as “please leave your number”. This concept is derived from an old school Thai style cult in which high school secret admirers sought to carve the table of their target of affection with a love message. Thai culture is another stimulation that drives Jack’s passion in working on architecture and design. He admires the imperfection of Thai culture and environment such as street life, fresh markets or even the messy power lines which truly express the uniqueness of the Thai way of life. If possible, he wishes he could redesign all the Thai police stations to create a transparent ambience and practically serve any crimes ranged from gambling and drugs to adultery affair, and the design would be based on the function of the place rather than the respectable symbolic of policeman. Many Thai government offices nowadays waste their open space without having relevant to-our-time usage, Jack added.

One of his concerns on Thai architect’s role in society is that they are perceived as ‘house doctors’ whose ability is to solve problems for property owners and clients. Their power is reduced by the client’s brief and that could lead to a pretty simple output. On the other hand, Thai architects should be more of an influential profession who would be included in the nation’s think tank that creates critical plans for the future of our country.

Currently, Jack is occupied with the book and the exhibition called “Water Brick” which is associated with ASA and cooperated with other qualified design studios and researchers. The content isn’t about how to solve the flood but it is about the aspect of water that affects humans, architecture, and cities in Thailand. The topics include how architecture could enable people to live with water, watery habitat history, and the highlight is on the architectural visions toward the future water situation. The last topic is a collaboration with five other enthusiastic offices, which Super machine Studio’s project named “Super Bowl”, and is the newly constructed dam where a new city is located on the rand above it with some 500,000 residents. The function of Super Bowl is to pull in the water mass into the dam during overflow season and release the water out in the dry season. Rice terraces are allowed to harvest once per year while people are able to commute by metro around the rand. The area is approximately 5 x 7 Kilometres, so large enough that we can construct an airport in the middle of it. This kind of project probably sounds like fiction, but the idea of visionary projects have actually been discussed and continuously generated by architects elsewhere in the world for more than 100 years and Jack also believes that imagination is essential for future development.

His concern on architectural roles continues into the field of architecture critics which he believes should be increased in numbers. The comments should contribute to improve the work creatively and encourage people to understand different points of view. Debating on thinking concept should be openly discussed across the architectural industry.

Hopefully, these interesting thoughts could trigger some positive movements in public. If you’re curious to know more about the project, Supermachine Studio takes part with other architecture firms, visit their booth at ASA Architect’12 expo.

เปิดห้องเครื่อง Jack Supermachine

หลายคนอาจคิดว่าความสนุกของการสร้างสรรค์งานของ ปิตุพงษ์ เชาวกุล หรือ แจ็ค เจ้าของ Supermachine Studio คงอยู่ที่การได้ทำอะไรแปลกใหม่แหวกแนว เด่นๆ ดังๆ หรือได้เป็นผู้นำกระแส แต่จริงๆแล้วสิ่งที่แจ็คเปิดเผยให้ฟังก็คือ การได้ทำอะไรในสิ่งที่ไม่เคยทำคือสิ่งที่สร้างความสนุกให้กับการทำงานมากกว่า “ผมไม่เคยปักธงว่าผมเป็นสถาปนิกที่ต้องออกแบบงานแนวๆ เสมอไปนะ ผมแค่เป็นคนที่อยากทำอะไรที่ผมไม่เคยทำไปเรื่อยๆ มากกว่า สิ่งที่ผมไม่เคยทำก็ไม่ได้หมายความว่ามันใหม่นะ ไม่ได้อยากให้คนเข้าใจอย่างงั้น”

โดยพื้นฐานของอาชีพของสถาปนิกคือการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา แต่โดยทัศนคติส่วนตัวของแจ็คไม่ได้เป็นคนชอบแก้ปัญหาเป็นหลักอย่างเดียว แต่เขาคิดว่างานสถาปัตยกรรมที่เคยทำส่วนหนึ่งเป็นเหมือนบทความที่สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ในสังคมของเรามากกว่า

DIN: ในปัจจุบันนี้คิดว่ากระแสของงานออกแบบจะเป็นยังไง

“ตอนนี้คิดว่าเราควรเอาจริงเอาจังกับเรื่องน้ำ พวกเราสถาปนิกยังไม่มีใครลุกขึ้นมาเอาจริงเอาจังเท่าไหร่กับเรื่องนี้ ไม่มีใครคิดว่าจะอยู่กับมันยังไง”

DIN: คิดว่าปีนี้โลกจะแตกมั้ย

“โดยส่วนตัวไม่คิดว่าโลกจะแตก แต่คิดว่ามีอะไรอยากทำควรรีบทำเหมือน Steve Jobs ที่บอกว่าทำทุกวันเหมือนเป็นวันสุดท้าย ไม่ได้หมายความว่าทำอะไรให้ดีขึ้นเสมอไปนะแต่ทำอะไรที่ไม่เคยทำดีกว่า”

DIN: คิดว่างานของตัวเองเป็นการนำหรือตามกระแส

“งานของผมบอกไม่ได้ว่าเป็นการตามหรือนำกระแส แต่ผมชอบทำให้งานสื่อความหมายได้ ใช้งานเป็นตัวพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมา ยิ่งได้ใช้อะไรที่มีความเป็นไทยๆ เข้ามาผสมจะสนุกกับงานนั้นมากขึ้นไปอีก ความเป็นไทยไม่ได้หมายถึงอะไรที่เป็นจั่วๆ นะครับแต่เป็นความเป็นไทยอย่างทุกวันนี้ เช่น ตลาด การกินอาหารบนถนน สายไฟฟ้ารกๆ ผมว่าความสวยงามของคนไทยมาจากความไม่เพอร์เฟค มาจากความง่าย มาจากการเอาไอ้นั่นไอ้นี่มาปะกัน ผมชอบความเป็นไทยแบบสวยงามบ้านๆ แต่เป็นตัวเราจริงๆ นะครับคือไม่เรียบร้อยแต่มีเสน่ห์ครับ ยกตัวอย่างนะครับอย่าง “จ่าเฉย” เนี่ยผมชอบมากเลยนะ โง่ๆ แต่มันก็หลอกผมได้ทุกที มันเป็นสิ่งที่ง่ายไม่มีเทคนิคอะไรเลย ราคาถูก (ตัวละ 14,000 บาท) เวิร์คบ้าง ไม่เวิร์คบ้าง แต่แค่ยืนยิ้มแต่มันทำให้เราอารมณ์ดีแล้ว ผมว่าเผลอๆ คุ้มกว่าป้ายจราจรอัจฉริยะที่บอกแต่ข้อมูลอย่างเดียวอีกนะ สิ่งที่เราทำกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ เช่น การขูดโต๊ะเรียนบอกรักเวลาแอบปิ๊งรุ่นน้อง หรือการขีดเขียนบ้าบอในห้องน้ำ แนวคิดในการทิ้งข้อความไว้ในสเปซอย่างงี้ผมก็เอามาใช้ในการออกแบบผนังให้กับ Bangkok University Creative Center (BUCC) เป็นผนัง pixel ที่เปลี่ยนสีได้ด้วยกลไกง่ายๆ ลักษณะเหมือนลูกคิด เวลาจะแปลอักษรก็เอามือไปหมุนๆ มันสามารถทิ้งข้อความต่างๆ ไว้ได้ จะบอกรักกันหรือจะขอเบอร์กันอะไรก็ว่าไป แต่ต้องใช้ความพยายามหน่อย สไตล์งานของ Supermachine อาจเป็นอะไรก็ได้ ส่วนตัวไม่ได้มีความต้องการให้งานตัวเองมีสไตล์ขึ้นมา ไม่อยากให้คนเห็นแล้วพูดว่า “นี่งาน Supermachine นี่หว่า” ไม่ชอบคอนเซ็ปต์ของคำว่างานมีลายเซ็น”

DIN: ถ้าได้ออกแบบสถานที่ราชการไทย อยากออกแบบอะไร

“ถ้ามีโอกาสได้ออกแบบสถานที่ราชการของไทย ผมจะเลือกทำสถานีตำรวจครับ อยากทำแล้วให้มีความโปร่งใสมากขึ้น จะนึกก่อนเลยว่าพวกนี้วันๆ เค้าทำอะไรบ้าง จับคนเล่นไพ่ จับยาบ้า เมียน้อยวิ่งไล่ตบกับผัว ผมว่าสถานที่ราชการต้องทำเพื่อเอามารองรับกิจกรรมพวกนี้ มันไม่ได้เริ่มจากสัญลักษณ์ หรือความน่าเกรงขาม หรืออะไรเทือกนั้น ตอนนี้สถานที่ราชการออกแบบมามีพื้นที่โล่งให้เยอะมากมายแล้วก็ไม่ได้ใช้กัน มันงงๆ นะครับ”

DIN: คิดอย่างไรกับการออกแบบและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

“ผมเบื่อคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพราะคนโน้นคนนี้เอามาพูดกันเท่ๆ ไปเรื่อย แต่ในที่สุดก็ไม่ชัดเจนอยู่ดีว่ามันคืออะไร การทำเศรษฐกิจ “แบบเอาจริงเอาจัง” หรือ “แบบหมกหมุ่น” น่าจะเป็นหนทางที่สร้างเงินได้อย่างฉลาดมากกว่า มันคือความเฉพาะเจาะจง มีความเอาจริงเอาจังแบบบ้าเลือด (คล้ายๆ นิสัยคนญี่ปุ่น) มันถึงจะสร้างมูลค่าให้กับงาน และเราถึงจะหาเงินได้มากขึ้น ตอนนี้ที่พูดกันอยู่ในสังคมเรามันเป็นแบบ HOWTO เกินไป มันมาบอกกันไม่ได้หรอกว่าคุณทำ 5 ข้อนี้สิแล้วคุณจะเป็นคนครีเอทีฟ ถ้าคุณได้ทำในสิ่งที่คุณรักด้วยความหมกหมุ่นเลยนะผมว่าความสร้างสรรค์มันก็จะมาเอง”

DIN: บทบาทของสถาปนิกไทยในปัจจุบันคืออะไร

“สถาปนิกควรมีบทบาทด้านความเป็นนักคิดมากขึ้นนะ ในประวัติศาสตร์มีตัวอย่างมากมายในสังคมอื่นที่สถาปนิกสร้างผลงานออกมาเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง หรือประท้วงสังคมในแต่ละยุคนั้นๆ นะ ถ้าสิ่งที่เราทำมันคือแค่การตอบโจทย์ด้านโปรแกรมความสวยงามและเทคนิคของลูกค้าอย่างเดียว บทบาทของอาชีพเรามันก็จะแบนมากเลย เราก็จะเป็นแค่คาแรคเตอร์ในสังคมที่คอยตอบปัญหาต่างๆ ของชาวบ้าน ถ้าเกิดน้ำท่วมขึ้นมาคุณต้องก่อกระสอบทรายแบบนี้ถึงจะแข็งแรง คุณต้องอุดท่อของคุณแบบนี้น้ำจะได้ไม่เข้า ถ้าหลังคารั่วจะทำยังไง นี่เป็นแค่มุมเดียวจากบทบาทของสถาปนิก คือบทบาทของช่าง หรือช่างแบบ หรือหมอบ้านซึ่งไม่ผิดอะไร แต่ไม่ได้มีบทบาทนี้อย่างเดียวที่สังคมควรรับรู้ เราควรจะมีอิทธิพลกับสังคมในบทบาทของนักคิดด้วย ซึ่งผมคิดว่ามันสำคัญกว่ามาก เวลาน้ำท่วมสถาปนิกควรจะโดนเรียกเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการอะไรโน่นนี่ด้วย นั่นคือสิ่งที่ผมมองว่าวงการเราควรจะวิ่งไป”

DIN: แล้วสิ่งที่แจ็คทำอยู่ตอนนี้คืออะไร

“ช่วยทางอาษาทำหนังสือและนิทรรศการเกี่ยวกับ “น้ำ” ชื่อ Water Brick อยู่ครับ เนื้อหาไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วมนะครับแต่เป็นมิติต่างๆ ของน้ำที่เกี่ยวข้องกับคนสถาปัตยกรรมและเมืองของประเทศไทย เช่น เรื่องของบทบาทของสถาปัตยกรรมที่จะทำให้เราอยู่กับน้ำได้ เรื่องประวัติศาสตร์การอยู่กับน้ำของเมืองไทย เรื่องวิสัยทัศน์ของสถาปัตยกรรมกับน้ำในอนาคต โปรเจคนี้เป็นการร่วมกันทำกับสตูดิโออื่นๆ หลายกลุ่มด้วยนะครับ ผมว่าเรื่องของน้ำท่วมจริงๆ เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและสถาปนิกเต็มๆ เลยนะครับ เพราะสถาปนิกคือคนที่ออกแบบสิ่งต่างๆ หลายอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทำไมเราไม่พยายามเข้าใจน้ำในมิติอื่นๆ ด้วย มีส่วนหนึ่งของหนังสือที่ให้ออฟฟิศสถาปนิกไทยร่วมกันแสดงวิสัยทัศน์ของเมืองน้ำในอนาคตในรูปแบบของ Visionary Project สิ่งที่ออฟฟิศเราเสนอเรียกว่า Super Bowl ครับ พูดถึงเรื่องการอยู่กับน้ำอย่างรับผิดชอบ และการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า เราเสนอเมืองใหม่ที่จุคนได้ 500,000 คน สร้างอยู่บนคันดินของอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นมาใหม่ เมืองใหม่ที่สร้างขึ้นมาช่วยดึงน้ำเข้าในหน้าน้ำและปล่อยน้ำออกสู่แม่น้ำในหน้าแล้ง ผู้คนทำนาขั้นบันไดแค่ปีละครั้งในอ่างเก็บน้ำ อยู่กันแบบรับผิดชอบเมืองที่ว่ากว้าง 5 x 7 กิโลเมตรเลยครับ ใหญ่มากจนสามารถมีสนามบินลอยอยู่กลางอ่างเก็บน้ำได้ ผู้คนเดินทางในเมืองด้วยระบบรถไฟในดินสันเขื่อน และผลิตไฟฟ้าและอาหารใช้กันเองได้ในเมือง จริงๆ แล้วการพูดถึงอนาคตด้วย Visionary Project เป็นสิ่งที่สถาปนิกทำกันมากว่า 100 ปีแล้วนะครับ พวกเราไม่ค่อยมีเวลามานั่งทำโปรเจคชนิดนี้ เพราะต้องตั้งหน้าตั้งตาหาเงินเลี้ยงชีพกัน คนอาจจะบอกว่ามันเวอร์ แต่ผมว่าจินตนากการมีความสำคัญต่อการสร้างอนาคตมากเลยนะครับ มีคนบอกว่าความแตกต่างของนวนิยายมันมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นพรุ่งนี้ สิ่งที่ออฟฟิศต่างเสนอกันออกมาอาจกลายเป็นจริงในวันหนึ่งก็ได้”

DIN: สุดท้ายนี้อยากฝากอะไรไว้ดี

“อยากให้มีอาชีพ Architecture critics มากขึ้นในเมืองไทย อยากให้การวิพากษ์วิจารณ์งานในวงการสถาปัตย์ของเมืองไทยเป็นเรื่องปกติและสร้างสรรค์ อยากให้เราพยายามทำความเข้าใจงานของกันและกันมากขึ้น อยากให้สถาปนิกไทยพูดกันถึงเรื่องความคิดกันอย่างกว้างขวาง อยากให้นักการเมืองและข้าราชการไทยเลิกโกงด้วย”

มุมมองที่น่าสนใจของแจ็คคงกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวไม่มากก็น้อย อย่าลืมพบกับหนังสือก้อนน้ำที่ Supermachine Studio มีส่วนในการจัดทำขึ้นมาได้ในงานสถาปปนิก'55 นี้

Source: ISSUE 01 APR 2012

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page