top of page

Design Inspiring Node

DEPARTMENT STORE, DEATH OR REBORN?


Visiting shopping malls has been considered a scale to measure how trendy someone is since 1964 when Thai people discovered the escalator as a new innovation at Thai Daimaru, a Japanese chain store, or using a glass lift at New World department store which later collapsed as a result of being built without consent or correct architectural structure. More recent shopping malls such as Central World or Siam Paragon seem to conform to the standard format of modern mall design these days. The sprouting of Community Malls such as K Village, J Avenue, Festival Walk, Crystal Design Center, or Rainhill have taken over empty land in Bangkok. This type of mall is different from traditional malls in that they are horizontally spread in the area rather than vertically with many levels. People often criticize them selves and others for spending free time visiting shopping malls, and that people should spend more time in the park instead. The problem is that the heat doesn’t allow us to relax in such a way until recently, when a newly opened community mall “Asiatique” provided us with refreshing river views with a chilling breeze and in a historic location, home decor, competition stage, cabaret show, or Joe Louise’s puppet show. On top of that, the space in the front of the Chao Praya River seems to attract both domestic and foreign shoppers. One of the key elements to a successful retail business is revealed by Mr. Ekarin Siripanporn from ES retail & interior design studio, who states that designers needs to envisage what customers are looking for in the shop. For example, people come to Mcdonald’s because they think it’s a snack shop so the interior should be designed to suit their needs such as considering the height of the table, whether the chairs are fixed or movable, how thick the glass panels are, or how bright the light is. Shopping malls have been in Thai culture for over 48 years now, and their continual evolution over this time has been obvious. A question pops up as to whether the traditional malls will die and if community malls are just a new species of shopping hub? No one knows. With hindsight, once popular department stores such as New World which were corrupted had now become a place where people go to feed several kinds of fish under the ruins. The commercial cycle will never die so long we live in the real world. The key design element which helps the shopping business grow is most likely the “Feng Shui”.

คนไทยมีปรอทการวัดองศาความฮอตในเรื่องของการอินเทรนด์อยู่ที่ “การเที่ยวห้าง” ไม่ว่าจะเป็นการได้ใช้บันไดเลื่อนครั้งแรกในชีวิตที่ไทยไดมารู ห้างดังยุคบุกเบิกที่เกิดจากการลงทุนของญี่ปุ่นในปี 2507 เจ้าของสโลแกน “สีสันสดใส แหล่งแฟชั่นใหม่ ไทยไดมารู” หรือยุค “ไปไหนๆ ไปเมโทร” แหล่งช้อปเครื่องไฟฟ้าราคาถูกที่ดูเดิ้นในยุคนั้นหรือ ลิฟต์แก้วที่ห้างนิวเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าที่สร้างอย่างผิดหลักสถาปัตยกรรมและกฎหมายจนกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของเมืองไทย หรือที่ที่ลืมไม่ได้ ใครๆ ก็ต้องไปดูคิงคองและเพนกวินที่ห้างพาต้า จนมายุคยิ่งใหญ่ยิ่งกว้างยิ่งเลิศ อย่างซีคอนสแควร์ และเริ่มมาอยู่ตัวในยุคของห้างโซนเมืองอย่าง เซ็นทรัลเวิลด์ หรือสยามพารากอน จนมาถึงยุค Community Mall ครองเมือง ไม่ว่าจะเป็น K Village, J Avenue, Festival Walk, Crystal Design Center, Rainhill และอื่นๆ อีกมาก (จริงๆ) แหล่งช้อปเหล่านี้แตกต่างจากห้างรูปแบบเดิมๆ ที่เป็นตึกสูงแนวตั้งที่มีการแบ่งเป็นแผนกตามชั้นต่างๆ ต้องใส่ใจกับการวางผังบันไดเลื่อนเพื่อเหตุผลที่มากกว่าความสะดวก โดยมีการผันรูปแบบของห้างมาเป็นการช้อปแนวราบ มีพื้นที่โล่งให้อากาศถ่ายเท ให้ความใส่ใจกับการออกแบบ landscape ซึ่งแนวโน้มการเพิ่มจำนวนของ Community Mall นั้นมีจำนวนมากขึ้นทุกวัน และคาดว่าจะไม่หยุดง่ายๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้า

เรามักจะวิจารณ์กันเองเกี่ยวกับความเป็นไทยของเราว่า “เอะอะก็ไปเที่ยวห้าง” ทำไมไม่ไปสูดอากาศกันที่สวนสาธารณะ เราต้องยอมรับว่าคนไทยไม่ได้มีธรรมชาติที่ชอบทำอะไรนิ่งๆ เป็นทุนเดิม การจะไปนั่งๆ นอนๆ ตามปาร์คนั้นไม่น่าจะใช่คำตอบ ส่วน “ความร้อน” น่าจะเป็นอีกปัจจัยที่เอื้อให้ห้างติดแอร์ฮิตในบ้านเรา ไม่ใช่ว่าอยากจะอินเทรนด์เสมอไป Community Mall แนวโพล้เพล้เปิดถึงดึกอย่าง Asiatique จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อฉีกตัวให้ต่างออกไปจากเดิม ความน่าสนใจของ Asiatique อยู่ที่การนำเอาสูตรฝรั่งแนว Riverfront มาบวกเข้ากับประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของทำเลและความหลากหลายของ Community Mall ที่มีทั้งร้านอาหาร, ร้านเสื้อผ้า, ของตกแต่งบ้าน, ลานเวทีประกวด, คาบาเร่ต์โชว์ หรือโรงละครหุ่นกระบอกโจหลุยส์ แต่พื้นที่โล่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นจุดสำคัญที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศได้สัมผัสธรรมชาติที่หาไม่ค่อยได้ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังน่าชื่นชมในความใจกว้างของสถานที่ที่อนุญาตให้วัยรุ่นไทยมีมุมให้ได้แสดงออกกัน โดยมีการยึดทำเลใต้แทงค์น้ำมาร่วมกันเต้นบี-บอย หรือร่วมประกวดดนตรีบริเวณลานกว้าง นอกจากจะเป็นการสร้างสีสันให้กับผู้เดินผ่านไปมา ยังน่าจะช่วยลดการมั่วสุมในที่ลับหูลับตา อีกทั้งยังเป็นการสร้างชุมชนเล็กๆ ให้เกิดขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่นักช้อปมองหาจากการไปเดินช้อปคืออะไรกันแน่ หากคำตอบส่วนใหญ่ของการไปคือ การได้เดินเล่น กิน และนัดเจอเพื่อน แน่นอนว่านอกจากการทำโปรโมชั่น การออกแบบร้านค้านั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งความสำเร็จทางธุรกิจ คุณเอกรินทร์ ศิริพรรณพร เจ้าของสตูดิโอ ES Design Retail & Interior เปิดเผยให้ฟังว่าสิ่งที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงก็คือ ลูกค้ามักจะคาดหวังก่อนมาใช้บริการเสมอ ต้องมองให้ออกว่าลูกค้าต้องการ ใช้งานอะไรจากร้านค้า ยกตัวอย่างร้านไอศกรีมแดรี่ควีน ซึ่งเป็นที่ที่ใครก็รู้จัก แต่ไม่มีใครวางแผนว่าจะไปกิน การซื้อมักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน จึงต้องออกแบบให้สะดุดตา ส่วนแมคโดนัลด์ลูกค้ามักมองว่าเป็นร้านขาย “ของกินเล่น” มากกว่าอาหารมื้อสำคัญและเป็นที่นัดพบปะของเพื่อนก่อนออกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น การออกแบบตั้งแต่ความสูงของโต๊ะต้องพอเหมาะ ลักษณะการจัดวางเก้าอี้ต้องสามารถเคลื่อนย้ายได้ ความหนาของกระจก พื้นผิวของผนัง หรือแม้กระทั่งการดีไซน์แสงในร้าน ต่างก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ร้านค้าดูน่าสนใจ

กว่า 48 ปีที่ผ่านมาเมืองช้อปปิ้งอย่างกรุงเทพฯ มีห้างหลากหลายแบบ วิวัฒนาการของห้างเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเพื่อตอบสนองวัฒนธรรมการบริโภคของชาวไทย หรือเพียงแค่ตอบสนองเหตุผลทางธุรกิจของนักลงทุนนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ยังไม่ชัดเจน หลายห้างเกิดและดับไปในเวลาไม่นาน หรือมีการสร้างใหม่ ปรับโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างบนพื้นที่เดิมแล้วมีการปรับเปลี่ยนชื่อ กระแสของ Community Mall เกิดขึ้นมาเพื่อลบล้างห้างหลายชั้นติดแอร์ หรือเป็นเพียงแค่สายพันธุ์ใหม่ของสถานที่ช้อปปิ้ง คงยังไม่มีใครตอบได้ ดูอย่างนิวเวิลด์ที่เคยโด่งดังก็พังและเสื่อมโทรม จนปัจจุบันกลับกลายเป็นบ่อเลี้ยงปลาหลากหลายพันธุ์ มีอาหารปลาขายให้คนมาเลี้ยงอย่างสนุกสนาน ได้แต่ลุ้นและหวังว่าถ้าตึกถล่มเมื่อไหร่ทั้งคนทั้งปลาก็หนีให้ทันตัวใครตัวมันก็แล้วกัน (อ้าว) แต่ที่แน่ๆ ตราบใดที่โลกยังต้องหมุนอยู่ เรื่องของธุรกิจก็ตายไม่ได้ หรือบางทีสิ่งที่สำคัญที่สุดอาจเป็นแค่เรื่องของ “ฮวงจุ้ย” ก็เป็นไปได้เนอะ...

Source: ISSUE 02 JUNE 2012

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page