top of page

Design Inspiring Node

Ratchaburi Historical Trail


Non movable rocks would be covered by moss. Human are bonded with home, love, and surrounding. A journey pushes us outside the same old boundary, to expose to new things easier.

Travelers are surely the source of inspiration for all time wisdom.

(Theerayuth Boonmee)

My journey heading to Ratchaburi started from hitting the state road number 4. Along the way, I have noticed and wondered how the historical architectures here were influenced by western design and appeared remarkable. My mission was to discover the answer for my curiosity, I prepared 2 books along which were 174 Architectural Heritage in Thailand and 183 Architectural Heritage in Thailand 2 to be the source of references. Basically, Ratchaburi is a pier town where Mae Klong River runs alongside the city. In Ayuthaya and early Rattanakosin era, this river was the main military route for Thailand to fight with Burma therefore it was the strategic check point to prevent the country from harm. This resulted in prosperity and facilities to support and strenghten the town as a consequence, architecture in Ratchaburi have unique style. Wat Mahathatworawiharn Ratchburi was built since Tavaravadee period, it is believed by experts that some of the constructions here are worthwhile for tracing history especially the Rock Wall which was carved with picture of angles staying in the Buddhism leaf-like archway similar to Cambodia style. According to the religious concept, it is believed that the designer aimed to use the wall as a level of each classof angel, devil, human, and animals. Afterleaving the temple I drove along AmarinRoad passed through the archway of Wat SriSuriyawonsaramworaviharn. The westernstyle of art here caught my eyes. Apart fromits marvelous interiors, other constructionhere were worth observing such as Bellshaped stupa, monk home, and archway.When it came to lunch time let’s visit thelocal noodle shop called “Kuaytiew Kai KhunMam” (Noodle with boiled eggs, shrimps,and omelets) which is located in front of thePrompatt Hospital.

Moving into to town, from Wat Sri Suriyawongsaramthere was a street headingalong the Ratchburi river which is on theleft side and you will see Ratchaburi NationalMuseum located on the right side.The pink building was really distinctive onthe green glass. The building was a TownCouncil but with growing numbers of staff,they have to move out to new office and theArt and Culture department converted it to amuseum. Next to this museum was anothermuseum ran by the private sector called TaiDe Kunt art gallery. This gingerbread stylebuilding was renovated from 2 floors to 3.First 2 floors are for art exhibitions and somecoffee shops and souvenir shop while thethird floor is reserved for the artists to resideand there is a terrace to observe Mae KlongRiver. According to the books I brought itwas indicated that this building was builtin Rama 5 reign and was used as lawyeroffice, healthcare station, bus station untilthe owner of clay water container businessrenew the place to be the first contemporaryart gallery in Ratchburi. I strolled along theRatchburi River until seeing another remark-หอศิลป์ร่วมสมัยเถ้าฮงไถ่ เดอคุ้นท์อาคารศาลแขวงราชบุรี22 23able architecture which was a RatchburiDistrict Court built in 2499. It is an elegant3-leveled building in Renaissance Revivalmixed with Victorian style. On the oppositeside, there was a fresh market called KoyKee where variety of food can be found here.It was located next to the large Clock toweralongside to the river. Waradej Road wasanother great place to observe people andtheir lifestyle, seeing lots of shops couldmake you feel excited and it proved that thesaying “All houses are gallery , everywherecan be art”. I’m thankful to the phrased I puton the opening of this article , it inspired meto try seeing new angles and understand oldthing in a new perspective. 120 KM. back toBangkok is not far at all as I can spend timeprovoking some thoughts and making medesire for the next journey ahead.

รอยเวลาที่ราชบุรี

การก้อนหินที่อยู่กับที่ย่อมถูกตะไคร่จับมนุษย์ที่ย่อมถูกพันธนาการด้วยบ้านความรัก และสิ่งรอบข้างการเดินทางช่วยให้เราหลุดพ้นจากกรอบของเรื่องเก่าๆ เพื่อเราเปิดรับเรื่องใหม่ได้ง่ายขึ้นจึงไม่น่าแปลกที่ความคิดสำคัญทุกยุคสมัยมักเกิดจากนักเดินทาง

ความพยายามภายในที่จะพาตัวเองออกไปข้างนอกคราวนี้ชัดเจนเมื่อผมได้อ่านหนังสือชื่อ “การเดินทาง ในจิตใจ” เป็นเวลากว่าครึ่งปีสำหรับผมที่นั่งทำงานบนโต๊ะทำงาน โต๊ะประชุม หรือหลังพวงมาลัย นาน วันเข้าความรู้สึกเหมือนที่ใครหลายๆ คนก็รู้สึกว่าร่างการต้องการการเดินทาง ซึ่งข้อเขียนของอาจารย์ ธีรยุทธ บุญมี ข้างต้นสามารถอธิบายธรรมชาติข้อนี้ได้ บนทางหลวงหมายเลข 4 การเดินทางจึงเริ่มต้น ขึ้นเพื่อมุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี

ผมเคยไปราชบุรีหลายครั้งด้วยเหตุผลของการทำงาน น่าแปลกใจที่ทุกครั้งจะผ่านอาคารบ้านเรือนที่ดูน่าสนใจจนต้องเหลียวหลังกับตึกหลายตึกที่อยู่ระหว่างทาง ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่เก่าแก่แต่ลักษณะแปลกตาหรือบางหลังก็มีรูปแบบตะวันตก ทำให้เกิดคำถามว่า รูปแบบดังกล่าวเข้ามามีบทบาทในพื้นที่ได้อย่างไร เป็นเหตุให้คราวนี้จะเป็นการเดินทางย้อนความสงสัยเพื่อหาคำตอบ ผมเดินทางมาพร้อมกับหนังสือประวัติศาสตร์และสถาปัตย์ฯ จำนวนหนึ่งสองเล่มในจำนวนนั้นคือหนังสือของสมาคมสถาปนิกสยามฯ “174 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย”และ “183 มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย 2”ซึ่งน่าจะให้คำตอบในข้อสงสัยได้พอสมควร จากข้อมูลเบื้องต้นราชบุรีเป็นเมืองสำคัญมาแต่สมัยโบราณ โดยในสมัยทวารวดีที่ย่านนี้มีเมืองนครปฐมเป็นศูนย์กลางและมีเมืองอื่นๆ เช่นราชบุรีเป็นเมืองสำคัญ โดยเมืองราชบุรีเป็นเสมือนเมืองท่าในย่านนี้เพราะตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำแม่กลองสายนี้เองที่ในสมัยอยุธยาและรัตน-โกสินทร์ตอนต้นใช้เป็นเส้นทางเดินทัพของสยามในการสู้รับกับพม่า จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการป้องกันประเทศ ความเจริญจึงตามมาเพื่อเสริมความมั่นคงให้กับหัวเมืองแห่งนี้ นี่เป็นสาเหตุให้ราชบุรีมีรูปแบบศิลปะเฉพาะตัว แม่น้ำสายนี้ยังคงไหลผ่านกลางอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี โดยชาวเมืองราชบุรีจะเรียกแม่น้ำแม่กลองช่วงที่ไหลผ่านตัวเมืองนี้ว่าแม่น้ำราชบุรี ที่เป็นประจักษ์พยานของความสำคัญดังกล่าวคือ “วัดมหาธาตุวรวิหารราชบุรี” วัดที่เชื่อกันว่าสร้างมาแต่สมัยทวารวดี แต่มาในสมัยหลังพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ทรงปฎิสังขรณ์โดยสร้างพระปรางค์ประธานขนาดใหญ่ขึ้นใจกลางวัด เพื่อประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุอันเป็นที่มาของชื่อวัด ทั้งนี้ตามคติเรื่องของการสร้างวัดมหาธาตุทุกครั้งที่มีการตั้งเมือง และหลังจากนั้นในสมัยต่อมามีการสร้างถาวรวัตถุจำนวนมากล้อมรอบปรางค์ประธาน หนึ่งในนั้นคือพระอุโบสถที่ประดิษฐ์ฐานพระประธาน ที่แปลกคือเป็นพระสององค์ที่หันหลังให้กัน นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างที่สะดุดตาและนักวิชาการเชื่อว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งคือ กำแพงศิลาแลง ที่มีภาพสลักรูปเทวดาในซุ้มเสมาตามรูปแบบศิลปะแบบขอม ซึ่งยังคงมีความสมบูรณ์ ในแนวความคิดอาจบอกได้ว่าผู้ออกแบบได้ใช้กำแพงดังกล่าวเป็นเสมือนชั้นของภพภูมิตามคติเขาพระสุเมรุที่เป็นคตินิยมของความคิดในยุคสมัยดังกล่าว ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อเมืองราชบุรี

ย้ายมาอยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ วัดมหาธาตุราชบุรีก็ถูกทิ้งร้างอยู่เป็นเวลานาน ความรู้ต่างๆ ที่ผมได้จากการมาวัดมหาธาตุครั้งนี้ต้องขอขอบคุณป้ายสื่อความหมายที่กรมศิลปากรได้จัดทำหลังจากบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อย จึงทำให้ผมได้ข้อมูลได้ครบถ้วน รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามสะดวกสบาย ดูแล้วภาคภูมิใจครับ

ตามแผนที่ตัวเมืองราชบุรีในปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของวัดมหาธาตุวรวิหาร ริมแม่น้ำราชบุรี ขับรถบนถนนอมรินทร์ลงมาไม่ไกล จะผ่านซุ้มประตูวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหารสะดุดตากับรูปแบบศิลปกรรมแบบตะวันตก ก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเจอว่าที่นี่มีวัดที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่ได้เคยนำช่างฝีมือที่สร้างพระนครคีรีหรือเขาวังมาสร้างวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี แล้วก็เป็นวัดนี้จริงๆ ครับจากหนังสือที่ผมพกมาบอกว่าวัดแห่งนี้สร้างในปีพ.ศ.2420 โดยท่านสมเด็จเจ้าพะยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ รูปแบบศิลปะของวัดนี้จึงมีอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบคลาสสิกเช่นเดียวกับพระนครคีรี พระอุโบสถที่อยู่ด้านหน้าผมนี้ตัวอาคารเป็นทรงจั่ว มีพาไลรอบ อาคารเตี้ยแต่สัดส่วนลงตัวหน้าจั่วประดับปูนปั้นรูปช้างสามเศียร ผนังเป็นปูนที่มีลักษณะพิเศษคือเขียนลายเลียนแบบหิน ดูเห็นถึงความตั้งใจของช่างฝีมือ แม้ภายในจะไม่มีจิตรกรรมฝาผนังแต่ด้วยความเรียบนี้ทำให้พระประธานของพระอุโบสถที่สร้างโดยสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์นอกจากนี้หลังอื่นๆ ภายในวัดก็มีคุณค่าศิลปะโดดเด่นไม่แพ้กัน เหมาะกับการเยี่ยมชม เช่น เจดีย์ทรงระฆัง กุฎิเจ้าอาวาสซุ้มประตูทางเข้า เดินดูรอบวัดจนได้เวลาอันสมควรผมจึงตั้งใจว่าจะหาอะไรทานเป็นอาหารกลางวัน ซึ่งชาวบ้านแถวนั้นแนะนำว่าให้ไปกินก๋วยเตี๋ยวไข่คุณแหม่ม หน้าโรงพยาบาลพร้อมแพทย์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำธรรมดาที่ไม่ธรรมดาครับ คือมีใส่ทั้งกุ้งแห้ง ไข่เจียว และทีเด็ดคือไข่ต้มยางมะตูมรสชาติลงตัวครับ หลังจากได้ลองแล้วรสชาติไม่ผิดหวังครับ โดยเฉพาะไข่ต้ม ยางมะตูมที่เป็นเอกลักษณ์

ไหว้พระไปสองวัดแล้วผมตั้งใจขับรถชมเมืองบ้างครับ จากวัดศรีสุริยวงศารามจะมีถนนตรงไปทางริมแม่น้ำราชบุรีในช่วงของตัวตลาด มองเห็นแม่น้ำราชบุรีอยู่ด้านซ้ายแล้วทางขวามือจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดราชบุรี”มีอาคารสีชมพูสะดุดตาอยู่ตรงกลางสนามหญ้าน่าสงสัยที่อาคารหลังนี้มีตัวอักษรแปะอยู่ที่กลางมุขว่า ศาลากลางจังหวัดราชบุรี แต่จริงๆ แล้วปัจจุบันดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์แต่ยังคงเก็บอนุรักษ์ป้ายเอาไว้ เป็นแนวทางที่กรมศิลปากรมักจะทำคือเมื่อศาลากลางหลังเก่าคับแคบและย้ายไปที่ใหม่ ก็มักเปลี่ยนอาคารเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดไปเสียเลย เหมาะทั้งที่ตั้งและขนาด อาคารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2465 เป็นอาคารชั้นเดียว มุงหลังคาด้วยกระเบื้องว่าวสีแดง ผังอาคารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางมีห้องเชื่อมกัน เกิดเป็นสวนสองส่วนคล้ายเลขแปดหรือที่เราเรียกว่าคอร์ทห้องทำงานทุกห้องล้วนหันหน้าเข้าหาคอร์ทนี้โดยมีระเบียงเชื่อมถึงกันตลอด ภายในคอร์ทจัดให้ปลูกต้นไม้ให้ความร่มรื่น ปัจจุบันเมื่อแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์แล้วก็สามารถใช้จัดแสดงโบราณวัตถุได้เป็นอย่างดีภายในแบ่งการจัดแสดงเป็นเรื่องราวเช่นห้องธรณีวิทยา ห้องก่อนประวัติศาสตร์ ห้องทวาราวดีห้องลพบุรี ห้องอยุธยา ห้องรัตนโกสินทร์ ห้องราชบุรีวันนี้ ฯลฯ ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจทำให้เราทราบว่าในสมัยก่อนมีการแบ่งการปกครองเป็นมณฑลต่างๆ ที่เราเรียกว่า “เทศาภิบาล” นั้น พื้นที่ปัจจุบันของจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี อำเภอปราณบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมกันปกครองเป็นมณฑลเรียกว่ามณฑลราชบุรี โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่อาคารสีชมพูรูปทรงตะวันตกหลังนี้ ในปี พ.ศ.2476 ยกเลิกการปกครองแบบเทศาภิบาล จึงเปลี่ยนชื่ออาคารหลังนี้เป็น “ศาลากลางจังหวัดราชบุรี” ตามที่ปรากฏเป็นตัวอักษรอยู่ที่อาคารจวบจนปัจจุบัน ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดราชบุรีเพียงถนนกั้น เป็นที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอกชนที่ชื่อว่า “หอศิลป์ร่วมสมัยเถ้าฮงไถ่ เดอคุ้นท์”ซึ่งผมเคยได้ยินเรื่องของหอศิลป์ฯ แห่งนี้มาพักใหญ่ในการเป็นโต้โผจัดงาน “ART NORMAL ปรกติศิลปะ” ซึ่งเป็นการจัดงานศิลปะร่วมสมัยครั้งแรกในราชบุรี แต่เสียดายที่การจัดงานอยู่ในช่วงหลังเหตุการณ์น้ำท่วมซึ่งทำให้ผมไม่สะดวกไปชมงานแต่ก็เป็นงานที่ได้กระแสตอบรับจากวงการศิลปะดีมากจนผมเสียดายมาจนถึงทุกวันนี้ หอศิลป์ฯแห่งนี้เป็นการปรับปรุงอาคารเก่าแบบขนมปังขิงซึ่งแต่เดิมมีสองชั้นให้เป็นอาคารสามชั้น โดยชั้นที่หนึ่งเป็นส่วนแสดงงานศิลปะ ชั้นสองเป็นส่วนแสดงงานศิลปะ มุมกาแฟและจำหน่ายของที่ระลึก และชั้นสามเป็นที่พักศิลปิน ซึ่งมีระเบียงสำหรับนั่งชมวิวคุ้งน้ำแม่กลอง ตรงกลางอาคารมีสวนเล็กๆ ที่นอกจากให้ความร่มรื่นแล้วยังให้แสงสว่างแก่ตัวอาคารโดยไม่ต้องเปิดไฟ จากหนังสือที่พกมาทำให้ทราบว่าอาคารหลังนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วก็เปลี่ยนการใช้สอยมาอย่างหลากหลายเป็นทั้งสำนักงานทนายความ สถานพยาบาล บริษัทท่ารถเมล์ จนกระทั่งทรุดโทรมและร้างไปในช่วงหนึ่ง คุณวศินบุรีสุพาณิชย์วรภาชน์ ศิลปินและผู้บริหารโรงงานโอ่งมังกร“เถ้า ฮง ไถ่” เป็นผู้ฟื้นชีวิตให้กับอาคารเลขที่ 323แห่งนี้ โดยตั้งใจให้เป็นหอศิลป์ร่วมสมัยแห่งแรกของจังหวัดราชบุรี ซึ่งก็ไม่ทำให้ผมหรือผู้มาเยือนท่านอื่นๆ ผิดหวัง ทุกคนที่แวะมาเยี่ยมเยียนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าประทับใจทั้งผลงานที่ศิลปินมาจัดแสดง สถานที่ที่รื่นรมย์และอยากจะนั่งชมวิวแม่น้ำจนเย็นย่ำ และดูจากปริมาณการสัญจรอันขวักไขว่แถวนี้แล้วบอกได้ว่าแถวนี้น่าจะเป็นใจกลางเมืองราชบุรีแล้ว ประกอบกับถนนหนทางมีทางเท้าเลียบแม่น้ำราชบุรีผมจึงตั้งใจว่าจะเดินเล่นบริเวณตัวเมืองราชบุรี โดยเริ่มต้นจากหอศิลป์ฯ แห่งนี้เดินไปไม่นานก็พบกับอาคารเก่ารูปทรงสะดุดตาอีกหลังครับ ดูจากป้ายด้านหน้าบอกว่าเป็นอาคารศาลแขวงราชบุรี สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2449 เป็นอาคารที่โดดเด่นทีเดียวครับเพราะเป็นอาคารเก่าแก่แต่สง่างามด้วยเป็นอาคารสูงสามชั้น รูปแบบเป็นอาคารทรงตะวันตก ในหนังสือที่พกมาบอกว่าเป็นแบบเรเนสซองส์รีไววัลผสมวิคตอเรียน แค่ชื่อยุคสมัยของศิลปะก็ไม่คุ้นหูแล้ว แต่ก็สวยลงตัว แม้ตัวอาคารเหมือนจะเป็นอาคารสามชั้น แต่จริงๆ เป็นสองชั้น แต่มีห้องใต้หลังคาที่สูงจึงทำให้ตัวอาคารโดดเด่น ที่จั่วด้านหน้าประดับพระราชลัญจกรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพิ่มความน่าเกรงขามให้กับศาลแห่งนี้

ฝั่งตรงข้ามเป็นตัวตลาดราชบุรีซึ่งเป็นทั้งตลาดสดไปจนถึงตลาดโต้รุ่ง ตลาดแห่งนี้มีชื่อว่าตลาดโคยกี๊ ซึ่งตลาดโต้รุ่งแห่งนี้ มีชื่อเสียงในเรื่องความหลากหลาย ส่วนรสชาติไม่ต้องพูดถึง หลังจากปิดปรับปรุงไปเสียนานเพิ่งแล้วเสร็จ จุดสังเกตที่ของตลาดแห่งนี้คือมีหอนาฬิกาสูงใหญ่ตั้งอยู่ฝั่งด้านริมแม่น้ำ และผมคาดว่าก่อนกลับคงจะได้มาใช้บริการฝากท้องที่นี่

ถัดจากตรงนั้นไปหน่อยก็เป็นถนนเลียบแม่น้ำซึ่งก็คือถนนวรเดช ที่ยังคงมีบรรยากาศที่ครึกครื้นทำให้ผมอยากที่จะเดินเล่นไปเรื่อยๆ ดูผู้คนและวิถีชีวิตดูร้านทอง ร้านขายนาฬิกา ร้านตัดผม ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายหนังสือ ทุกที่มีรูปแบบการจัดสินค้าแต่งร้านดึงดูดลูกค้าอย่างไม่เกรงใจใคร ชวนสนุกสนานตื่นตาตื่นใจ คำกล่าวที่ว่า “ทุกบ้านคือแกลลอรี่ทุกที่คือหอศิลป์” เป็นประโยคที่ผมอ่านเจอในหอศิลป์เถ้าฮงไถ่แล้วสะดุดใจ ที่แท้ก็เป็นอย่างนี้นี่เอง บ่ายนี้ทั้งวันผมเดินอยู่บนถนนสองเส้นคือถนนวรเดชและถนนอัมรินทร์ เพลิดเพลินมากครับ

ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ครับว่าการเดินทางสร้างแรงบันดาลใจ กระตุกต่อมคิดได้เยอะ ได้ความรู้สึกตื่นเต้นไปในทุกๆ ที่และได้ขบคิดในหลายๆ แง่มุมมีหลายเรื่องอยากเล่าแต่ตกหล่นอยู่ระหว่างบรรทัดต้องขออภัย ต้องขอขอบคุณย่อหน้าแรกของบทความนี้สำหรับคำของ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ที่ทำให้ผมได้ทดลองมุมมองใหม่ๆ ได้เข้าใจในสิ่งเดิมๆ ในมุมมองใหม่ๆ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับอาชีพที่ต้องการการสร้างสรรค์ตลอดเวลาและน่าแปลกใจว่าสิ่งเดิมๆ หากเรากลับวิธีมองคุณค่าจะเพิ่มขึ้นโดยมหัศจรรย์... 120 กิโลเมตรคือระยะทางกลับกรุงเทพฯ ไม่รู้สึกไกลเลยครับเพราะระหว่างทางเราได้ตกผลึกความคิดและที่สำคัญผมกำลังคิดถึงการเดินทางครั้งถัดไป

Source: ISSUE 05 DEC 2012 / JAN 2013

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page