top of page

Design Inspiring Node

ECO WEDDING


A traditional wedding ceremony will just not do for this newly married couple Mrs. Chutima and Mr. Prasitt. As an advertising creative, Mr. Prasitt had searched his imagination for a wedding ceremony that would be innovative, sharing, and jubilant. The concept for this once in a lifetime opportunity: an ‘Eco Wedding.’

After 1 whole year of preparation and another 3 months of execution, the couple hosted a fascinating wedding ceremony like no other. All features and gimmicks emanated from an ‘Eco’ concept that had an environmentally friendly objective. For instance, solar cell light fixtures were used to illuminate the wedding after dark to save electricity. Wedding invitations were crafted from recycled pulp paper, and with it, guests were given a Wrightia religiosa seed in which they were to plant and bring to the wedding as a gift and for decoration. Plates and garbage bags were all biodegradable. Guests were given bicycles to ride to the ceremony to limit the use of cars. For those who did not ride bicycles, they provided a ‘Bikesenger’ service where guests could arrive on the back seat of a bicycle. The wedding needed no cake. Instead, the couple undertook a symbolic ceremony of passing water onto a newborn plant and offering it to their parents. Weddingsouvenirs were not given to guests, but the money was instead donated to The Cardiac Children Foundation of Thailand. Even the tablecloths were donated to a morgue foundation after the ceremony to be reused. The intricate couple had thought out each detail to produce the least amount of waste and provide the greatest benefit to the earth.

As for the honeymoon, it would only seem fit that they would spend their romantic occasion at a meditation course at Suan Mokkh

งานแต่งงานเป็นงานของคนสองคน คงใช้ไม่ได้กับคู่แต่งงานที่มีแนวคิดไม่ซ้ำใครคู่นี้คุณกุ๊กและคุณเม้ง ชุติมา กิจมงคลธรรมและคุณประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์) ด้วยฝ่ายชายทำงานเป็นครีเอทีฟโฆษณา บริษัท ชูใจกะ กัลยาณมิตร บริษัทที่ไม่หยุดแค่ทำโฆษณาสินค้า แต่มุ่งเน้นกิจกรรมดี ๆ เพื่อสังคม งานแต่งงานของทั้งสองคนจึงเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และยังเผื่อแผ่สิ่งดี ๆ ให้แก่โลกภายใต้คอนเซ็ปต์ที่มองได้ว่าเป็น “Eco Wedding” อีกด้วย ก่อนมาถึงวันแต่งงานที่เราได้สัมผัสความอบอุ่นและความเป็นธรรมชาติที่อบอวลไปด้วยความรักให้แก่กันของทั้งคู่และสู่ธรรมชาติ งานแต่งถูกเลื่อนมา1 ปีเต็มเนื่องจากฝ่ายชายได้บวชที่สวนโมกข์ และยังคงซาบซึ้งในพระธรรม ช่วงเวลานั้นเขาได้เก็บเกี่ยวมุมมองชีวิตแล ้วสะท้อนออกมาผ่านงานแต่งงานนี้อีกด้วย

Theme ที่ใช้ในงานคืออะไร และระยะเวลาในการเตรียมงานนานแค่ไหน? ตอนแรกไม่ได้มี theme ชัดเจน ใครจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ มองว่ามันเป็นอะไรที่มากกว่า นี่เป็นงานเดียวในชีวิตที่เราเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงเป็นวาระสำคัญของสองคน บ่าวสาวจึงปล่อยของกันเต็มที่ gimmick จึงทำให้แตกต่างจากงานแต่งงานทั่วไป ระยะเวลาเตรียมการ 1 ปี แต่ขั้นลงมือปฏิบัติการจัดเตรียมจริงๆ คือ 3 เดือนก่อนวันแต่งงาน

ที่มาของ gimmick ในงาน เป็นมาอย่างไร? จากความสนใจธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม และอยากให้แขกที่มาร่วมงานได้ทำอะไรดีๆ ร่วมกันเริ่มตั้งแต่สถานที่เราไม่อยากจัดงานที่โรงแรมเปลืองไฟ เปลืองแอร์ อยากให้แขกได้ใกล้ชิดธรรมชาติจึงจัดงานแต่งงานในสวน แล้วจัดช่วงเย็นไม่เลิกมืดมากเราก็ใช้ Solar Cell เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในงาน เก็บพลังงานแสงตั้งแต่ช่วงบ่ายนำมาใช้ช่วงเย็นและค่ำ การ์ดก็ใช้กระดาษรีไซเคิลที่มีเมล็ดพันธุ์โมก เนื่องจากเจ้าบ่าวไปบวชที่สวนโมกข์ และ “โมกข์” มีความหมายว่า หลุดพ้น ซึ่งเป็นความหมายที่ดี แขกจะต้องปลูกเมล็ดโมกแล้ว นำต้นกล้ามาในงาน หลายคนอาจไม่ได้ปลูกอะไรมานานแล้วก็มาปลูกเมล็ดโมกนี้ อย่างน้อยเสร็จงานเราก็ได้ต้นกล้า 200-300 ต้นไปปลูกต่อไปซึ่งเมล็ดโมกก็ได้ไปติดต่อจากกรมป่าไม้ ก่อนเข้างานจะมีจักรยานเตรียมให้กับแขกเข้ามาในงานถ้าใครขี่ไม่เป็นไม่ไหวเราก็มีทีม Bikesenger เป็นวินจักรยานขี่ส่งแขกในงาน พิธีรดน้ำสังข์ก็รดผ่านมือบ่าวสาวแล้วลงต้นไม้ที่เตรียมมาแล้วลงดินไม่มีอะไรที่สูญเปล่า งานนี้ไม่มีตัดเค้ก แต่นำต้นกล้ามาเรียงกันบ่าวสาวรดน้ำต้นกล้าแล้วนำต้นกล้าไปมอบให้คุณพ่อคุณแม่ของแต่ละฝ่าย ดนตรีในงาน ก็เป็นวงดนตรีคนตาบอด จานชามในงานก็ใช้ชนิดย่อยสลายได้ เป็นจานชามจากกระดาษไบโอชาน อ้อย ถุงขยะก็ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ จานชามและเศษอาหารในงานอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็นำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่อไปทั้งหมดนี้ได้รับความช่วยเหลือและความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

ทำไมต้อง “อนุรักษ์ธรรมชาติ”? เน้นที่ไม่ต้องการให้ฟุ่มเฟือย ทุกอย่างจึงลงรายละเอียดไม่ให้สูญเปล่า ไม่ทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากเกินไป และอยากใกล้ชิดธรรมชาติมากที่สุด บวกกับประทับใจเพลง “รักเป็นดั่งต้นไม้” ของพี่จิกที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก

ความยากในการเตรียมงานแนวอนุรักษ์ธรรมชาติสำคัญที่สุดต้อง “ไม่ยอมแพ้ให้กับความเหนื่อยและคำทัดทานซะก่อน” เช่น แหล่งวัสดุอุปกรณ์แผงโซล่าร์เซลล์ แก้วและถ้วยชามไบโอไม่ใช่สิ่งที่หาง่ายนักในท้องตลาด ต้องหาข้อมูลมากกว่าจะพบคนที่ดูแลของเหล่านี้ รวมถึงการแก้ปัญหา เช่นหาจักรยานให้คนขี่ ยังต้องคิดแก้ปัญหาสำหรับคนขี่ไม่เป็น โดยการใช้วินจักรยาน การ์ดเชิญและกระดาษต่างๆ ในงานที่เป็นรีไซเคิล สีมันจะน้ำตาลพ่อแม่ไม่ชอบเลย บอกว่าเหมือนแกนกระดาษทิชชู่รวมถึงวงดนตรีคนตาบอด ที่ต้องอธิบายให้ผู้ใหญ่พ่อแม่ พอสมควรที่จะนำพวกเขามาเล่น สิ่งเหล่านี้ต้องหาทางติดต่อ และหาในราคาที่ประหยัดมากๆ ด้วย และยังต้องขอความช่วยเหลือมาก ตัองหาทางบาลานซ์ และรองรับปัญหาให้กับทุกคนที่มาร่วม ในการจัดงานแบบไม่ใช่งานตามรูปแบบทั่วไปที่จะมีรูปแบบสำเร็จรูปในการทำ และรับได้สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยชินกับงานแบบนี้ ก่อนเข้างานและถึงวันงานจะได้ยินเสียงบ่นเยอะหน่อย แต่หลังจบงานก็จะได้ยินเสียงชมมากหน่อยเช่นกัน

พองานจบแล้ว สิ่งของที่ใช้ในงานนำไปทำอะไร อย่างไรต่อ? หลังจบงานเป็นสิ่งที่ต้องคิดมากเช่นกัน เพราะไม่งั้นก็จะไม่ประหยัดทรัพยากรตามคอนเซป็ ตจ์ ริงๆ จึงต้องคิดถึงของที่เช่าหรือยืมได้ ถ้าของที่ต้องซื้อขาดถ้าไม่นำไปใช้ต่อก็ต้องหาที่รองรับ หรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ หรือไม่ก็หาวิธีที่ทำไม่ให้เกิดขยะขึ้นเลย อย่างผ้าปูโต๊ะที่นำมาใช้เป็นผ้าดิบ หลังจบงานนี้ เราตั้งใจจะนำไปบริจาคให้พวกมูลนิธิเก็บศพหลายคนคิดว่ามันดูไม่เป็นสิริมงคล แต่เราสองคนกลับมองว่ามันงดงามและมีคุณค่า ของที่ระลึกของที่ส่วนใหญ่จะกลายเป็นขยะ เราเอาเงินไปบริจาคผ่าตัดหัวใจเด็กแรกเกิดที่เป็นโรคหัวใจ 20,000 บาทและเอาใบอนุโมทนาบุญนี้ไปวางไว้ในงานแทน

ประทับใจอะไรกับการจัดงานครั้งนี้? ประทับใจว่า เราทำงานแต่งงานที่ไม่ทำร้ายโลกอย่างนี้ขึ้นมาได้ และมันก็ยังน่ารักมากๆ ด้วย และก็ซึ้งในน้ำใจที่เห็นหลายคนมาช่วยกัน โดยไม่คิดบางคนไม่ได้สนิทสนม บางคนไม่เคยรู้จัก กลับมาช่วยอย่างดี เช่น โซล่าร์เซลล์ก็โทรไปขอพี่เอกยุทธการ แกขนมาให้ฟรีๆ จากกาญจนบุรี ประทับใจที่หลายคนรู้สึกดีกับการปลูกต้นไม้ครั้งแรกในชีวิตความรู้สึกดูแลประคบประหงม รอคอยชีวิตน้อยๆ ให้เกิดขึ้น ประทับใจที่งานนี้มันจะส่งต่อแรงบันดาลใจดีๆ ให้กับคนอื่นๆ ได้บ้าง หลังจบงานเราก็ไปฮันนีมูน “ดื่มน้ำผึ้งพระธรรม” เข้าคอร์สปฏิบัติธรรม กันที่สวนโมกข์ ไชยา

Source: VOL 02 ISSUE 01 FEB / MAR 2013

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page