top of page

Design Inspiring Node

Green Architecture


Green architecture emerged in the last 30 years as part of a new trend to combat the environmental problems the earth is facing today. This includes the worldwide issues of the greenhouse effect, ozone depletion, urban heat island, acid rain, deforestation and climate change. Vast amounts of CO2 are released into the atmosphere each year trapping the earth’s heat and causing global warming and many more environmental issues. For countries such as Thailand where the economy depends heavily on agriculture, the effects of global warming have a significant impact.

Global warming is admittedly a very complexand broad issue that cannot be resolvedwithout multiple facets of knowledge. Wemust rely on our knowledge of architecture,construction, building science, urban planningand building management and mergethem into the solutions of green architecture.The objective would need to be “humanbeings should live in harmony with nature.”

Green architecture is made up of 3 importantfactors: the building itself, the environmentand technology. Technology has beenthe influential link that has helped buildingsconnect with its context at all stages, fromprojection inception, to the design, construction,occupation, maintenance and finallythe demolition of the building. A standardset of guidelines have been developed todirect green architecture towards a sustainabledirection. The guideline used in theUK is called BREEAM (Building ResearchEstablishment’s Environmental AssessmentMethod) and the equivalent in the US is LEED(Leadership in Energy and EnvironmentalDesign) established by the US Green BuildingCouncil. Buildings are rated on a tallied pointsystem according to 5 main components:Sustainable Site, Water Efficiency, Energy& Atmosphere, Materials & Resources, andIndoor Environmental Quality. Buildings arethen awarded a level of certification based onthe points scored.

In order for green architecture to develop,it would require a lot of support and cooperationfrom designers, clients, and the government.The design of green architectureshould begin from learning about the effectsof the environmental context, climate, andgeography of the site, then integrating thelocal vernacular architecture into the design.Vernacular architecture has been developedby our ancestors for years and provides avast scope of knowledge . This wealth ofknowledge around us should be merged withthe technological advances available todayand used astutely within the context of ourenvironment.

สถาปัตยกรรมสีเขียว (Green Architecture) เป็นผลผลิตจากกระแสความคิดใหม่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมยั่งยืน (Sustainable Architecture) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่เกิน 30 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่แนวทางการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานด้วยวิธีธรรมชาติ (Passive Design) ในยุโรปและอเมริกาได้หมดกระแสไปสักพักหนึ่ง แต่กระแสความคิดของสถาปัตยกรรมสีเขียวกลับเกิดขึ้นได้ ซึ่งมิใช่จากการขาดแคลนพลังงานแต่เป็นเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่น ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ปรากฎการณ์หลุมโอโซน (Ozone Hole) เกาะความร้อน (Urban Heat Island) ฝนกรด (Acid Rain) การทำลายป่า (Deforestation) รวมทั้งการแพร่กระจายของโรคติดต่ออันเกิดจากสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนไป (Climate Change) ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าการบริโภคพลังงานจากแหล่งพลังงานดั้งเดิม เช่น ถ่านหิน หรือน้ำมันดิบก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโลกและก๊าซนี้จะทำให้ความร้อนจากผิวโลกไม่สามารถแผ่รังสีกลับสู่อวกาศได้ ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ปัญหาโลกร้อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกสารพัด โดยเฉพาะภาคการเกษตร ในประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทยจะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก จะเห็นว่าปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่กว้างและซับซ้อนเกิน กว่าวิชาความรู้แขนงใดแขนงหนึ่งจะเข้าแก้ไขได้ดังนั้นการสร้างสถาปัตยกรรมสีเขียว จึงต้องอาศัย บูรณาการของวิชาความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์อาคาร (Building Science) การวางผังเมือง การบริหารการก่อสร้างโดยกรอบความคิดของสถาปัตยกรรมสีเขียวก็คือประโยคง่ายๆ ที่ทุกคนมักจะพูด “Human beingsshould live in harmony with nature”

หลักการออกแบบอาคารเขียวจะประกอบด้วยปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสามส่วน ได้แก่ตัวอาคาร สภาพแวดล้อม และการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาเชื่อมโยงให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างอาคารและสภาพแวดล้อม ซึ่งการใช้เทคโนโลยีต่างๆก็จะถูกผสมผสานเข้าไปในทุกส่วนของอาคาร ตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างแนวความคิดในการออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง การใช้งาน และการวางแผนปรับปรุงและย่อยสลายส่วนประกอบอาคาร หลักการออกแบบอาคารเขียวทั่วไปจึงมี guidelineเบื้องต้นที่จับต้องได้ในหลายๆ ประเด็น ก่อเกิดเป็นมาตรฐานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการให้คะแนนตามรายการ (Checklist) หรือเรียกว่าแบบประเมินอาคาร ซึ่งปัจจุบัน ทั่วโลกได้พัฒนาแบบประเมินของตนเองออกมา เช่นในประเทศอังกฤษ ได้มีการพัฒนาแบบประเมินอาคารสีเขียวเรียกว่า BREEAM (Building Research Establishment’sEnvironmental Assessment Method)หรือในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีหน่วยงานThe U.S. Green Building Council (USGBC)ได้พัฒนาแบบประเมินอาคารที่เรียกว่า LEED หรือLeadership in Energy & Environmental Designซึ่งได้แยกเกณฑ์การให้คะแนนเป็นข้อๆ โดยอาคารที่ผ่านเกณฑ์แต่ละข้อก็จะได้คะแนนสะสม จนได้คะแนนรวมเพื่อเสมือนที่จะให้ “ดาว” แก่อาคารเป็นดาวเงิน ดาวทอง หรือดาว platinum ซึ่งสำหรับโครงการ Park Venture นี้ได้รับการออกแบบตามเกณฑ์ของ LEED ในหัวข้อที่สำคัญต่างๆ ได้แก่

1. Sustainable Sites

2. Water Efficiency

3. Energy and Atmosphere

4. Materials and Resources

5. Indoor Environmental Quality

ที่กล่าวมาเกี่ยวกับความเป็นมาและข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของสถาปัตยกรรมสีเขียวนี้ จะเห็นว่าการจะเริ่มมีอาคารเขียวเกิดขึ้นในประเทศไทย จะต้องได้รับการร่วมมือสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งผู้ออกแบบ ผู้ประกอบการ และภาครัฐ รวมทั้งต้องมีกลไกในการส่งเสริมและเกณฑ์ในการประเมินผลสำหรับสถาปนิกผู้ออกแบบ การริเริ่มออกแบบอาคารสีเขียวคงจะต้องเริ่มตั้งแต่การศึกษาปัจจัยทางสภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ว่าจะมีผลอย่างไรต่อการกำหนดแนวทางการออกแบบให้สอดคล้องกัน โดยศึกษาตัวอย่างจากการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture)ที่มีอยู่แต่เดิมอย่างพินิจพิจารณาว่าบรรพบุรุษได้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาให้อาคารอยู่สบายได้อย่างไรในสภาพอากาศแบบต่างๆ ซึ่งองค์ความรู้ที่มีมักจะไม่ปรากฏเป็นตำราคู่มือการออกแบบที่ชัดเจน แต่กลับแอบแฝงอยู่ทุกหนทุกแห่ง สถาปนิกจะต้องมีความรู้ในหลายๆ ด้านอย่างเพียงพอที่จะสามารถ“เข้าถึง” และ “เก็บเกี่ยว” ภูมิปัญญาเหล่านั้นมาใช้ได้ และต้องนำมาใช้อย่างชาญฉลาด ตอบสนองต่อเทคโนโลยีการก่อสร้างและบริบทของปัจจุบัน

Source: VOL 02 ISSUE 01 FEB / MAR 2013

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page