The labyrinth of Number 11, 33rd Lane
Sri Lankan architect Geoffrey Bawa is perhaps one of the world’s most notable architects who has successfully merged vernacular architecture with modernism. Bawa distinguished himself with his selection of local materials and simple construction methods to emphasize the complexity of spaces.
One of his greatest works is a labyrinthianresidential project, located in the centre ofColombo: Number 11 on 33rd Lane. The projectboasts an intricately detailed floor plan,where visitors are channeled into spacesthat reveal desired views at each node.Bawa uses plain white walls to control themood and provides a humble background fornatural light and silhouettes of the context.The play of light and shadows, the contrastsof dark and light is perhaps one of the most important elements of tropical architectureas it is used to create rhythm and tone inthe spaces. Natural light also provides aconnection with the environment and at thesame time helps to conserve electricity andnatural resources. Bawa has demonstrateda pure connection between architecture andthe environment, and has set a path towardsliving and building sustainably.
The question is : will we follow in hisfootsteps?
“เดินต่อไปทางนี้ ใช่ไหมครับ?” ผมใช้คำถามนี้ถามทางบ่อยครั้ง ขณะที่กำลังเริ่มต้นเดินทางจากถนน Galle กลางเมืองโคลัมโบ เพื่อเข้าซอย 33 โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงนั้นคือ บ้านเลขที่11 ซอย 33 หรือรู้จักกันว่า Number 11, 33rd Lane หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของ
Geoffrey Bawa Geoffrey Bawa เป็นสถาปนิกชาวศรีลังกาแน่นอนว่าเขาย่อมเข้าใจรูปแบบและเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบศรีลังกาได้เป็นอย่างดี แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการที่เขาผสมผสานเสน่ห์ของงานพื้นถิ่นให้เข้ากับภาษาของการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ จนเกิดเป็นสถาปัตยกรรมในเขตร้อน(Tropical Architecture) ที่มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง แม้ว่าในยุคนั้นกระแสของสังคมจะโน้มเอียงไปในทางสมัยใหม่ (Modern Style)แต่เขากลับเลือกใช้วัสดุพื้นถิ่นและกระบวนการก่อสร้างที่เรียบง่าย เพื่อเน้น space อันซับซ้อนของเขาให้น่าสนใจ
ดังเช่นในบ้านเลขที่ 11 นี้ มีการออกแบบแปลนที่ซับซ้อน Geoffrey Bawa ให้ความสำคัญกับการวางแปลนเป็นอย่างมาก ทำให้สร้างมุมมองให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้ ห้องต่างๆ จัดวางไว้เหมือนเขาวงกต สลับกับสวนเล็กๆ แทรกอยู่ในพื้นที่อันจำกัด เส้นทางการเดินจากห้องหนึ่งสู่อีกห้องหนึ่งจะบีบบังคับสายตาเราให้ไปเจอกับมุมที่ตั้งใจเอาไว้มีผนังสีขาวเรียบง่ายเป็นฉากให้แสงธรรมชาติแต้มสีเปลี่ยนบรรยากาศ สร้างอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ กัน
ที่จริงการใช้แสงเป็นช่วยสร้างความงดงามให้สถาปัตยกรรมนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยเฉพาะในแถบภูมิภาคใกล้เส้นศูนย์สูตรนี้ ยิ่งได้เปรียบมีแสงธรรมชาติให้ใช้งานกันอย่างเต็มที่ สถาปนิกที่เข้าใจความงดงามของแสง จะเลือกใช้อย่างมีจังหวะจะโคนสร้างพื้นที่และใช้แสงอย่างพอเพียง ใช้ความมืดและความสว่างอย่างสมดุล
ขณะที่เดินภายในบ้านหลังนี้ ผมแทบจะไม่สังเกตเห็นแสงประดิษฐ์ที่มากเกินไปเลย แสงธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลานั้น ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นผลดีเรื่องการประหยัดพลังงานที่เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าเราเข้าใจธรรมชาติอย่างถ่องแท้ และรู้จักพอเพียงก็สามารถใช้แนวทางการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่งดงามแบบบ้านเลขที่ 11 หลังนี้ได้
ว่าแต่ เรายังคงเลือก “เดินต่อไปทางนี้ ใช่ไหมครับ?”
Source: VOL 02 ISSUE 01 FEB / MAR 2013