GREEN DESIGN มนุษย์กับธรรมชาติหัวใจของการออกแบบสีเขียว
It is a well known fact that the problems with today’s society and environment is a result of human behavior and their shortcomings in finding a balance between social and economic development. In the late 20th century, the notion of a sustainable development was introduced in response to society’s dilemma. The objective was to ensure a prosperous future that could achieve the balance in social, economic and environmental aspects of our society.
Sustainable development however, has proven to be difficult due to the dominant influence of economic factors. For example, the design and rating of green buildings and products have an underlying business and marketing agenda bound by economic mechanisms. Branding, image and sales have been the main criteria for achieving acceptance in society rather than sustainable development. Often these actions are a result of failure to think beyond the current trends and constraints. Little concern has been given to local vernacular architecture, culture and geography of a place. Green architecture however can in fact be more than a business mechanism; it can also be a cost effective product, it can accommodate the disadvantaged, and it can be a solution for those with social and economic problems.
Nevertheless, green design can only be effective if the consumers of today’s society choose to change their attitudes and habits. The issue of unsustainable consumption needs to be resolved, a problem which has risen from excessive consumption of natural resources beyond our needs. If we continue to use business goals as the objective of green design, it could result in over-production and over-consumption of green products and inefficient use of resources.
Green design should therefore not be pursued only for a rating or certification, but to build a society that is responsible to mankind and the environment. The awareness of sustainability for clients, designers, and consumers has therefore become the main predicament. It is our obligation to raise our conscious and lend each other a helping hand in creating a sustainable future for our
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วกันว่าปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์และรูปแบบการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุลตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกเป็นต้นมา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จึงได้มีการนำเสนอแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้น ด้วยความหวังที่ว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมมนุษย์ให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต...ทั้งนี้แนวความคิดดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากความต้องการสร้างความมั่นคงของสังคมมนุษย์ โดยเน้นการสร้างความสมดุลในการพัฒนาสามด้านหลัก(เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม)
อย่างไรก็ดี เนื่องจากในปัจจุบันปัจจัยด้านเศรษฐกิจได้กลายเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา ความยายาม หลายอย่างในการสร้างสรรค์ความยั่งยืนจึงถูกผูกติดกับกลไกทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตัวอย่างเช่น แนวทางการประเมินอาคารเขียวหรือการติดฉลากเขียว ซึ่งได้ใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างภาพลักษณ์ และจุดขายทางการตลาดในการสนับสนุนการสร้างสรรค์งานออกแบบสีเขียว และผลิตภัณฑ์สีเขียว ให้เป็นที่ยอมรับในสังคมซึ่งหลายครั้งที่เกณฑ์ประเมินดังกล่าวได้มองข้ามความพยายามที่อยู่นอกกระแสเช่น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การสร้างอาคารให้ตอบรับกับวัฒนธรรมและภูมิสังคมท้องถิ่น เป็นต้น (อรรจน์ เศรษฐบุตร, 2553) ในความจริงแล้วการออกแบบสีเขียวนั้นสามารถทำได้มากไปกว่าการออกแบบเชิงพาณิชย์ตามแนวคิด กระแสหลัก การออกแบบสีเขียวยังสามารถรวมไปถึงการออกแบบแบบประหยัด การออกแบบเพื่อคนที่ด้อยโอกาส และการออกแบบผู้ประสบปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย (ดูตัวอย่างใน Architecture for Humanity, 2006; 2012; Bell and Wakeford, 2008; Aquilino, 2011)
นอกเหนือจากนั้นงานออกแบบจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย หากผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานไม่ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม โดยเฉพาะปัญหาการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน (Unsustainable Consumption) ซึ่งเกี่ยวพันทั้งกับการบริโภคเกินความจำเป็น การบริโภคที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงใช้ทรัพยากรมากเกินความสามารถในการปรับตัวหรือฟื้นตัวของธรรมชาติ หากเรายังใช้กลไกการตลาดตามแนวคิดกระแสหลัก ซึ่งเน้นแค่การกระตุ้นการบริโภคอย่างมีสำนึก แต่ไม่ได้มุ่งไปที่ต้นเหตุของปัญหา คือ การมีสติในการบริโภค อาจทำให้เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) มากเกินความจำเป็น (มีแล้วแต่ซื้อใหม่เพราะว่ากันว่าดี)การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการซ่อมบำรุงเพื่อยืดอายุการใช้งาน ฯลฯ
การออกแบบสีเขียวจึงไม่ควรถูกพิจารณาแค่การออกแบบเพื่อให้ได้คะแนนหรือใบประกาศเกียรติคุณแต่เป็นการออกแบบเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความรับผิดชอบต่อมวลมนุษยชาติและธรรมชาติ การสร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบของเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้ใช้งาน และผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะการขาดความเข้าใจในเรื่องของความเป็น “สีเขียว” ของประชาชนผู้บริโภค และผู้ออกแบบ ได้กลายเป็นประเด็นหลักในการชะลอความก้าวหน้าของกระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นการสร้างจิตสำนึก และการช่วยกันคนละไม้คนละมือ จึงเป็นเรื่องจำเป็น และเป็นเรื่องที่ต้องทำหากเราทุกคนยังต้องการให้ลูกหลานของเรามีสิทธิในการได้รับประสบการณ์ดีๆ และได้สัมผัสกับธรรมชาติแวดล้อมในแบบเดียวกับคนรุ่นเรา...และควรเริ่มที่ตนเองก่อนเพราะคงไม่มีใครอยากทิ้งลูกหลานตนเองไว้ในสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมที่รู้ทั้งรู้ว่าตนเองนั่นแหละเป็นผู้ร่วมสร้างขึ้นมา...
อ้างอิง อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2553). Green บ้าน...กลืนเมือง Go green แบบ Inter: ดู ดี ดี before you ‘LEED’. อาษา, 12:52-01:53 (หน้า 93-100) Aquilino, M. J. (2011). Beyond Shelter: Architecture for Crisis. London: Thames and Hudson. Architecture for Humanity. (2006). Design Like You Give a Damn. London: Thames and Hudson. Architecture for Humanity. (2012). Design Like You Give a Damn [2]. London: Thames and Hudson. Bell, B. and Wakeford, K. (2008). Expanding Architecture: Design as Activism. New York: Distributed Art Publishers.
Source: VOL 02 ISSUE 01 FEB / MAR 2013