ทิศทางการศึกษาของไทย เพื่อก้าวไกลรับ AEC
While several people of Thailand in both government and private sectors are much aware of ASEAN Economic Community (AEC)’s free trade, a question ‘What about Thai people, are they ready for it, especially the education sector? Today, DIN Team has a chance to talk to Dr. Chingchai Hanjenluck, Director of The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization).
Is Thai education sector ready for AEC free trade?
Considering the UNESCO’s figure, we may feel that we are ready because 90% of Thai are educated school enrolment is easy and in a very high volume. But, its quality is the opposite. Only a few graduated students are qualified since our teaching method is a rote learning; students are forced to get knowledge, not to have a critical mind.
Another problem is the mindset of our young generation. Their mindset is following the piece of paper instead of applying knowledge as their expertise. They use their knowledge as a step for taking higher education. For example, vocational education, the graduates from this sector are the most wanted, but they tend to study for a higher degree. Actually, I think we all don’t have to earn bachelor or master degree. One who is expert in academic matter usually less expert in craftsmanship. Business owners have to always train the newcomers. In fact, there is a higher education for bachelor degree in the vocational education track, like in Germany. German had set up vocational education from the base up to bachelor degree for Thailand. We should give an opportunity to some vocational students for studying in a bachelor degree level, but not to all of them. Whoever with an ability to do craftsman work should do what they can do, or else in the future, we may have to import all craftsmen from Myanmar, Kampuchea and Vietnam. When those countries grow up, those craftsmen will go back to their own countries. Then, who will work for us? Sooner or later, we will only have jobless graduated scholars. Considering educational reform, you will see that we achieve our goal gradually as in five bar charts. That is good but unfinished. These five bars need something to mediate them together. Unfortunately, there is none so far, and that’s the problem seeming that we haven’t yet attained a full. reform. We should look back and reconsider it. I think the present Minister of Education is doing right when he said “there exists students who fail the exam. If we let them pass, we will get the volume but not quality.”
I think it’s wrong that all students have to pass the exam, like nowadays. If they can’t study in a general school, then we can let them study in a vocational school. We should pay respect to vocational education. All kinds of education are necessary for Thai economic not only general education.
Does studying English more is necessary in facing AEC? Particularly at present as we have plenty of bilingual schools. Are we ready at this point?
Bilingual study, especially English, is necessary. Meanwhile, we must consider other ASEAN members’ languages too. However, English is very important for globalized free trade. ASEAN once observed Thais’ English language skill and ranked us in the eighth place of ten. Undeniably, we aren’t a colony. Thus, we had never been forced to learn second language. That is good as a historical record or the national pride. But, we can’t stay put that point. We can’t use it for working. We must start learning English intensively.
Regarding teacher, I would frankly say that we need higher qualified teachers. If necessary, we must import some teachers, because only qualified teacher can shape quality of children.
Asking about preparedness for bilingual learning, I think we must do it at this time. Ready or not is not a matter, we must start now and keep adjusting. We must improve our teacher because unqualified teacher leads to unqualified student. Therefore, we must teach English in all education and all levels; don’t separate vocational or general education.
Besides English, which AEC language should we learn?
Considering a language trend of AEC that will take a big role in Thailand, I think besides popular Chinese language Thais who have learned English should take Malaysian and Indonesian. Population of both Malaysia and Indonesia is half of all AESEAN populations. Malaysian language is similar to Indonesian, and they both are easier than Chinese because of using Roman alphabet.
Finally, do you have any comments about the education to pass through the new generation?
For new generation, whatever you want to learn please first consider suitability of your family and your ability. You should study in the track that you have a base to step on, for example, you should study in the field of your family business. For language, everyone has to study more language.
“Don’t set your goal on earning a bachelor in any field of study, but set your aim on the knowledge for skillful working”
ในยุคที่หลายคนในประเทศหันมาตื่นตัวกับการเปิดเสรีทางการค้าประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน AEC ทั้งในภาครัฐและเอกชน ก็เกิดคำถามว่าคนในประเทศล่ะพร้อมแล้วหรือยัง โดยเฉพาะในส่วนของภาคการศึกษามีความพร้อมกันแค่ไหน วันนี้ทีมงาน DIN ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
อยากเรียนถาม ดร. ในส่วนของภาคการศึกษาของไทยว่าพร้อมแล้วหรือยังกับการเปิดเสรีทางการค้าประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน
หากพิจารณาตามตัวเลขของยูเนสโก้ ก็อาจจะรู้สึกว่าเราพร้อม เพราะจำนวนคนไทยเรียนหนังสือกันถึง 90% เนื่องจากจำนวนคนที่ได้เข้าไปเรียนมันง่ายและสูงมากแต่หากมองด้านคุณภาพทางการศึกษาแล้วมันคนละเรื่องกัน คนที่ไปเรียนแล้วจบออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ผมว่ายังน้อยมาก เพราะว่าวิธีการสอนของเราเป็นแบบสอนให้จดให้จำสอนแบบยัดเยียดความรู้ ไม่ได้สอนให้เด็กคิด
อีกปัญหาหนึ่งก็คือเรื่อง Mind Set ของเด็กในสังคมเรา ยังเป็น Mind Set แบบไล่ตามเศษกระดาษ แทนที่จะเอาความรู้มาดัดแปลงตามความชำนาญที่สามารถจะทำได้ แต่กลายเป็นการเอาความรู้ที่ได้มาเป็นขั้นบันไดเพื่อเรียนต่อไปเรื่อยๆ อย่างทางภาคอาชีวศึกษาซึ่งเป็นแรงงานที่เราต้องการมาก พอจบมาก็มีแนวโน้มที่จะทำปริญญาต่อ ซึ่งจริงๆ แล้วผมว่าเราไม่จำเป็นที่เราจะต้องไล่ตามปริญญาตรีหรือปริญญาโทกันทั้งหมด หากคนไหนชำนาญการทางด้านเอาความรู้ทางด้านฝีมือช่างไปใช้ เวลาคนเหล่านี้ออกไปทำงาน เจ้าของกิจการหรือเจ้าของธุรกิจก็จะต้องเอามาเทรนกันใหม่ ซึ่งจริงๆ แล้วความรู้ทางอาชีวศึกษาก็สามารถเรียนสูงขึ้นต่อไปในทางอาชีวศึกษาได้แบบทางเยอรมัน ที่เคยมาวางรากฐานทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาให้เราขึ้นไปถึงระดับปริญญา เราก็ควรให้โอกาสเด็กอาชีวศึกษาไปให้ถึงปริญญาได้ แต่ก็ไม่ใช่กับทุกคน ใครที่ทำช่างฝีมือได้ก็ควรทำ มิเช่นนั้นอนาคตเราต้องหาช่างกลึงช่างหล่อนำเข้ามาจากพม่า เขมร เวียดนาม กันทั้งหมด ประเทศเหล่านี้เมื่อเขาเจริญขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ต้องเอาคนของเขากลับไปทำงานที่ประเทศเขา แล้วต่อไปเราจะเอาใครมาทำงาน อีกหน่อยเราก็จะเป็นประเทศที่มีพวกปริญญาตรี ปริญญาโท เดินเตะฝุ่นกันเป็นแถว
เมื่อพิจารณาตอนปฏิรูปการศึกษา จะเห็นว่าเราก็ทำตามเป้าหมายเป็นขั้นขึ้นมา เป็นกราฟแท่งทั้ง 5 ซึ่งมันก็เป็นเรื่องดี แต่มันไม่จบเพราะเมื่อทำเป็นแท่งๆ ขึ้นมา มันต้องมีอะไรมาประสานงานกันระหว่างแท่งทั้ง 5 ให้มันกลมกลืนเข้าไป แต่ตอนนี้มันไม่มี ทำให้เป็นปัญหาคล้ายกับเราปฏิรูปมายังไม่เต็มระบบเลย ทำให้ขาดตอนไป ซึ่งก็คงจะต้องหันกลับมาดูและปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ ซึ่งผมก็คิดว่าทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาคนปัจจุบันมาถูกทางแล้ว เพราะท่านเคยออกมาพูดว่า “เด็กสอบตกมันต้องมี ถ้าเผื่อมันสอบไม่ได้ เราขืนดันไปมันก็มีแต่ปริมาณ ไม่มีคุณภาพ”
สมัยนี้ไม่มีสอบตก ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เด็กสอบตกควรมีอยู่ ถ้าเขาเรียนไม่ไหว ไม่ผ่านสายสามัญเราก็อาจพิจารณาให้เขาไปเรียนทางสายอาชีวะก็ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องให้เกียรติทางสายอาชีวะเขาด้วย เพราะการเรียนแต่ละสายล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ ไม่ใช่จะเอาแต่สายสามัญอย่างเดียว
สำหรับการจะตอบรับ AEC ดร. คิดว่าเราจำเป็นไหมที่จะต้องเรียนภาษาอังกฤษกันให้มากขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันเรามีโรงเรียนสองภาษาเยอะขึ้นมาก เราพร้อมกับจุดนี้แล้วหรือ
การเรียนสองภาษาอย่างไรก็จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ และเมื่อเราจะเปิดเสรีประชาคมอาเชียน AEC ก็อาจจะต้องพิจารณาถึงภาษาอื่นของประเทศในสังคมอาเซียนด้วย แต่ภาษาอังกฤษนั้นจำเป็นมาก ในรูปของเศรษฐกิจเปิดโลกาภิวัตน์ ทางอาเชียนเคยมาดูความสามารถทางภาษาอังกฤษของเรา ปรากฏว่าเราถูกจัดให้อยู่อันดับ 8 จาก 10 ประเทศ แน่นอนว่ามันมีเรื่องที่เราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร ทำให้เราไม่เคยถูกบังคับเรื่องการเรียนภาษาที่สอง ซึ่งมันก็อาจดีอยู่ในด้านประวัติศาสตร์ หรือความภาคภูมิใจในความเป็นไทยของเรา แต่เราจะหยุดอยู่ตรงนั้นไม่ได้ เพราะเราเอาความภูมิใจไปใช้งานไม่ได้ เราต้องเริ่มหันมาเรียนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง
ในส่วนของครู ผมเรียนตรงๆ ว่าเราต้องหาที่มีคุณภาพกว่านี้ ถ้าหากจำเป็นมากก็ต้องนำเข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะครูที่มีคุณภาพจะสร้างเด็กที่มีคุณภาพสืบต่อไป
หากถามว่าพร้อมไหมกับระบบการเรียนสองภาษา ผมคิดว่าถึงเวลานี้เราต้องทำ ไม่เกี่ยวกับว่าเราพร้อมหรือไม่แต่เราต้องเริ่มทำ ตรงไหนที่เราไม่พร้อมก็ต้องปรับปรุงกันไป ต้องปรับปรุงคนสอนให้ดีขึ้นเพราะถ้าครูไม่ดีลูกศิษย์ก็คงดียาก ดังนั้นทุกสายต้องเรียนภาษาอังกฤษทั้งหมด เรียนทุกระดับ เราไม่ได้แยกว่าสายอาชีวะ สายสามัญ เราต้องเรียนทุกระดับเหมือนกัน
แล้วภาษาใดใน AEC ที่เราน่าจะเรียน ต่อจากภาษาอังกฤษ
หากถามถึงแนวโน้มของภาษาที่น่าเรียนของประเทศเพื่อนบ้านใน AEC ที่จะมามีบทบาทกับเรา ผมว่าคนไทยที่เรียนภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีภาษาจีนที่หลายคนนิยมเรียนกันในอาเซียนเอง และที่น่าเรียนควรเป็นภาษามาเลย์และอินโดนีเซีย เพราะแค่มาเลเซียและอินโดนีเซีย จำนวนประชากรก็เป็นครึ่งหนึ่งของประชากรในอาเซียนทั้งหมด ภาษาอินโดนีเซียและมาเลเซียก็คล้ายๆ กัน และน่าจะเรียนง่ายกว่าภาษาจีน เพราะทั้งสองประเทศนี้ใช้ตัวอักษรโรมัน
สุดท้ายนี้ ดร. มีอะไรอยากฝากถึงเด็กรุ่นใหม่เกี่ยวกับด้านการศึกษาของพวกเขาบ้างคะ
สำหรับเด็กรุ่นใหม่ ถ้าหากอยากจะเรียนอะไรขอให้ศึกษาในเรื่องความเหมาะสมของครอบครัว ดูเรื่องความสามารถประจำตัวของเรา ถ้าอันไหนเราสามารถมีแท่งต่อเราก็ควรดูด้านนั้น เช่น ถ้าครอบครัวทำธุรกิจอะไรเราก็ควรศึกษาด้านนั้น ส่วนในเรื่องของภาษาอย่างไรต้องเรียนเพิ่มเติมทุกคน
"การจะเรียนอะไรก็ตาม อย่าไปตั้งเป้าว่าจะต้องคว้ากระดาษ เอาใบปริญญามาให้ได้ แต่ต้องเรียนเพื่อตั้งเป้าเอาความรู้ที่ได้มาเป็นทักษะในการใช้งานได้จริง"
Source: ISSUE 05 DEC / JAN 2013-2014