ALTERNATIVE SCHOOL
Currently, Thai kids have the intelligence and the knowledge. Some of them won the Gold Medals of International Science Olympiads. They are courage to do and to think. They dare to express their opinion on the educational reform. But children who clever, does not mean they becomes a good person when they grow up. If they can not analyze the things what is right or wrong. In currently, teaching in regular curriculums focus on the grades and scores through children lack of real life experiences that should be.
“Alternative School” is a new choice of education. Children have the opportunity to learn with equivalence and variety from real life experiences. The alternative school has different from general schools, the key elements in alternative school’s pedagogy were 4 items including; Values, Innovation, Resource, Leadership.
From the 14 case studies of alternative school by Thailand Development Research Institute (TDRI) found that the innovative academic in alternative school focus on the Principles and Philosophies, Methods of Teaching and Essential Resources of Learning. Therefore, they apply various concepts and philosophies to pedagogy such as;
Montessori Method which is a method of educating young children that stresses development of a child’s own initiative and natural abilities, especially through practical play. This method allowed children to develop at their own pace and provided educators with a better understanding of child development. The Montessori School in Thailand such as Pitisuksa School Chiang Rai Montessori, International School Montessori Phuket, Korn Kaew Kindergarten School, Sombunwit Trilingual School, Yuwamit Kindergarten School.
Waldorf Method focuses on developing critical understanding and fostering idealism. Throughout, the approach stresses the role of the imagination in learning and places a strong value on integrating academic, practical and artistic pursuits. The Waldoft School in Thailand such as Panyothai Waldoft School, Baan Rak School.
Summer Hill Method believes that the school should be made to fit the child, rather than the other way around. It is run as a democratic community; the running of the school is conducted in the school meetings, which anyone, staff or pupil, may attend, and at which everyone has an equal vote. The Summer Hill School in Thailand such as Children Village School.
Neo-humanist Method is spiritual practice to enhance the physical, mental, and spiritual well-being of the practitioner. The stage of spiritual practice indirectly benefits society through the social service that is part of spiritual practice. According to neo-humanism, when an individual’s existential nucleus (soul) merges with the “Cosmic Existential Nucleus”, she/he attains the consummation of her/his existence. The Neo-humanist School such as Tau Rak School, Yuwapat School, Amatyakul School.
Constructivism Method is based on experimental learning through real life experience to construct and conditionalize knowledge. The purpose in education is to become creative and innovative through analysis, conceptualizations, and synthesis of prior experience to create new knowledge. The Constructivism School in Thailand such as Darunsikkhalai School for Innovative Learning.
Applied-Buddhism Method takes the principle of Buddha Dharma applied to learning in balance, The aim of Buddhist education is assistance in the attainment of body, spiritual, and buddhism wisdom. Also to help the student completes a human-being. The applied buddhism School in Thailand such as Thawsi School, Siamsaamtri School and Panyaden School,
Each of these philosophies has dominated and different processes but focuses on the same objective that is to study on human-being with diversity. The diversity of the alternative school makes the opportunities to experiment and produce new methods all the time.
โรงเรียนทางเลือก และนวัตกรรมการเรียนการสอน
ในปัจจุบันเด็กไทยมีความรู้และฉลาด สามารถชนะการแข่งขันเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการมาก็หลายรุ่น อีกทั้งยังกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการปฏิรูปการเรียนการสอนแบบใหม่ แต่เด็กเรียนดีเด็กเรียนเก่งก็ไม่สามารถเป็นมาตรวัดได้ว่าเป็นเมื่อโตขึ้นเด็กจะกลายเป็นคนที่คิดดีในสังคม หากขาดความสมดุลในการคิดวิเคราะห์ในสิ่งที่ถูก-สิ่งที่ผิด ซึ่งการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติในปัจจุบันมักมุ่งเน้นที่ผลการเรียนหรือคะแนนเป็นหลักจนขาดการเรียนการสอนในประสบการณ์ชีวิตจริงที่ดีที่ควรจะเป็น มันเกิดอะไรขึ้นกับการเรียนการสอน???
“Alternative School” โรงเรียนทางเลือก เป็นอีกแนวทางใหม่ของการเรียนการสอนที่เปิดให้เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างสมดุลและหลากหลายผ่านการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริง ในโรงเรียนทางเลือกจะมีความแตกต่างของการเรียนและการสอนจากโรงเรียนทั่วไป โดยองค์ประกอบที่สำคัญในด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนทางเลือกมีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ ได้แก่ 1). คุณค่า (Values) โรงเรียนทางเลือกไม่ได้ถ่ายทอดเพียงความรู้วิชาการเท่านั้น แต่ยังสร้างคุณค่าที่มาจากฐานคิดและปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนให้แก่นักเรียน
2). นวัตกรรมการเรียนการสอน (Innovation) อันประกอบไปด้วยสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนการสอน นักเรียนโรงเรียนทางเลือกส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนตามกลุ่มสาระวิชาหลักโดยตรง แต่เน้นบูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกันและถูกถ่ายทอดด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 3). ทรัพยากรที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน (Resource) คุณค่าที่หลากหลายและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนทำให้โรงเรียนทางเลือกต้องการทรัพยากรการศึกษามากกว่าโรงเรียนทั่วไป 4). ผู้นำของโรงเรียน (Leadership) โรงเรียนทางเลือกต่างมีผู้นำที่เข้าใจปรัชญาการศึกษาทางเลือกและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักขององค์กรในการดำเนินการต่างๆ ให้บรรลุภารกิจ
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างโรงเรียนทางเลือก 14 แห่ง ของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่านวัตกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนทางเลือกจะมุ่งเน้นไปที่หลักการคิดและปรัชญา วิธีการเรียนการสอน และทรัพยากรสำคัญในการจัดการเรียนการสอน โดยมีการนำแนวคิดและปรัชญาการศึกษาจากสำนักต่างๆ มาใช้สอน เช่น
แนวคิดมอนเตสซอริ (Montessori) ฐานคิดของแนวคิดมอนเตสซอริก็คือ การศึกษาควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขาและสอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงวัยโดยจัดการเรียนการสอนที่ใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยให้มากที่สุด วิธีการหลักของแนวคิดมอนเตสซอริก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้มีอิสระในการเรียนรู้และทำงานด้วยตนเอง โรงเรียนทางเลือกในประเทศไทยที่นำแนวคิดมอนเตสซอริมาใช้ เช่น โรงเรียนปิติศึกษา โรงเรียนมอนเตสเซอร์รี่ภูเก็ต โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว โรงเรียนสมบุญวิทย์ และโรงเรียนอนุบาลยุวมิตร
แนวคิดวอลดอร์ฟ (Waldorf) แนวคิดวอลดอร์ฟมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตน สร้างตัวตนของแต่ละคนเพื่อเข้าใจในชีวิตของตัวเองและความสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างสมดุล รวมทั้งเคารพในลักษณะปัจเจกของเด็กเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้พัฒนาตนเอง ดังนั้นแนวคิดการศึกษาวอลดอร์ฟจึงให้การศึกษาแก่เด็กแบบองค์รวม ทั้งหัวสมอง (Head) หัวใจ (Heart) และมือ (Hand) การจัดแผนการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาไปตามช่วงอายุ และสร้างสมดุลระหว่างวิชาการ ศิลปะ และการฝึกฝนด้านการปฏิบัติ โรงเรียนทางเลือกในประเทศไทยที่นำแนวคิดวอลดอร์ฟมาใช้ เช่น โรงเรียนปัญโญทัย โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ และโรงเรียนอนุบาลบ้านรัก
แนวคิดซัมเมอร์ฮิลล์ (Summer Hill) ฐานคิดของแนวคิดนี้ก็คือ เด็กทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดีและเกิดมาพร้อมกับความฉลาด ดังนั้น การศึกษาจึงต้องให้เสรีภาพกับเด็กในการเลือกที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามที่เด็กต้องการภายใต้สิทธิและความเสมอภาคในการอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นครูหรือนักเรียน การเรียนในโรงเรียนแบบซัมเมอร์ฮิลล์จะไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบคำสั่งที่เคร่งครัด โรงเรียนทางเลือกในประเทศไทยที่นำแนวคิดซัมเมอร์ฮิลล์มาใช้ก็คือ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
แนวคิดนีโอ-ฮิวแมนนิสต์ (Neo-Humanist) ฐานคิดของแนวคิดนี้ก็คือ ความเป็นคนที่สมบูรณ์เกิดจากศักยภาพที่สำคัญ 4 ด้าน คือร่างกาย (Physical) จิตใจ (Mental) ความมีน้ำใจ (Spiritual) และวิชาการ (Acadamic) กระบวนการสำคัญของการศึกษาแบบนีโอ-ฮิวแมนนิสต์ก็คือ คลื่นสมองตํ่า เช่น การทำสมาธิหรือเล่นโยคะก่อนเข้าห้องเรียนจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองสูงขึ้นมาก โรงเรียนทางเลือกในประเทศไทยที่นำแนวคิดนีโอ-ฮิวแมนนิสต์มาใช้ เช่น โรงเรียนทอรัก โรงเรียนอนุบาลยุวภัทร และโรงเรียนอมาตยกุล
แนวคิด Constructivism แนวคิดนี้มุ่งเน้นให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการเรียนรู้แบบลงมือทำ (Learning by doing) เช่น การทำโครงงาน (Project-based learning) โดยเด็กจะมีบทบาทสำคัญในการกระบวนการเรียนรู้ของตน ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่สนใจศึกษา วางแผนการศึกษา ค้นคว้าข้อมูล ไปจนถึงวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษา ครูจะมีบทบาทในการแนะนำหรือให้ข้อคิดเห็นแก่เด็กเท่านั้น โรงเรียนทางเลือกในประเทศไทยที่นำแนวคิด Constructivism มาใช้ เช่น ดรุณสิกขาลัย
แนวคิดพุทธธรรมประยุกต์ (Applied-Buddhism) แนวคิดพุทธธรรมประยุกต์เป็นการนำหลักสำคัญในศาสนาพุทธมาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้เชิงวิชาการในโรงเรียนอย่างสมดุล และครอบคลุมทั้งกาย จิตใจ และปัญญาตามแนวพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รวมทั้งความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพ และที่สำคัญก็คือการศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โรงเรียนทางเลือกในประเทศไทยที่นำแนวคิดพุทธธรรมประยุกต์มาใช้ เช่น โรงเรียนทอสี โรงเรียนสยามสามไตร และโรงเรียนปัญญาเด่น
ซึ่งแต่ละปรัชญาการศึกษาเหล่านี้มีจุดเด่นและเนื้อหากระบวนการที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็เน้นในจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความหลากหลาย ดังนั้นในการศึกษาเรียนรู้จึงต้องมีความหลากหลายและยึดเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามไปด้วย ซึ่งความหลากหลายของการศึกษาดังกล่าวเปิดโอกาสพื้นที่ให้โรงเรียนทางเลือกสามารถทดลองและผลิตวิธีการเรียนการสอนใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
โรงเรียนทางเลือกได้เปิดมุมมองแนวคิดอีกด้านหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ารูปแบบทางการศึกษาไม่ใช่กระบวนผลิตแบบ Mass Product เพื่อให้ได้สินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันจากโรงงานอีกต่อไป หากใครมีลูกมีหลานแล้วสนใจอยากเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ในแนวทางใหม่ๆ ก็ลองพิจารณาโรงเรียนทางเลือกเป็นอีกทางหนึ่ง แทนการแข่งกันเข้าโรงเรียนดังๆ ที่ต้องแข่งกันจ่ายค่าแรกเข้ากันแพงๆ อีกด้วย......
Source: ISSUE 05 DEC / JAN 2013-2014