top of page

Design Inspiring Node

KANTANA FILM AND ANIMATION INSTITUTE : ATMOSPHERIC ARCHITECTURE


Kantana is a specialist institute founded to produce film and animation specialists. It’s located on the outback area in Nakhon Pathom Province of Thailand. The institute has set its priority on land development through educational strategy in order to promote human potential along with the environment, community and culture conservation.

The building was designed to show a serene look and being part of its natural landscape and people, by combining function, form, material, construction, lifestyle and culture all together to state “architecture beyond architecture”. Idea of layout design is based on designing users’ behavior, for example students, teachers and staff, to be different from their daily ones. According to this, the walkway is used to separate spaces for different activities from each other, while connecting all functions together. This design is called Broken Plan by the architect.

There are 5 main functions in this building; administrative, library, lecture, studio and canteen sections. There is a main central walkway among the group of building for “making concentration” before entering lecture rooms to make student calm and pay attention to each class. A rough pathway and sight-obstruction trees which are sandwiched between high wall make people be aware while walking. Moreover, it makes the walker feel like walking in both inside and outside of the building at the same time.

สถาบันกันตนาเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิต Film and Animation บนพื้นที่รกร้างห่างไกลความเจริญในจังหวัดนครปฐม ประเทศไทย มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาพื้นที่โดยใช้การศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมศักยภาพของคนควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตชุมชน และวัฒนธรรม

ตัวอาคารได้ถูกออกแบบให้มีความสงบ แลดูเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ ธรรมชาติ และผู้คนด้วยการเชื่อมโยงการใช้งาน รูปทรง วัสดุ วิธีการก่อสร้าง วิถีชีวิต และวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ “สถาปัตยกรรมเป็นมากกว่าสถาปัตยกรรม”

การออกแบบผังอาคารมีแนวคิดหลักมาจากการออกแบบพฤติกรรมของผู้ใช้สอย ได้แก่ นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ให้แตกต่างจากพฤติกรรมประจำวัน ด้วยการใช้ทางเดินเป็นตัวแบ่งพื้นที่ของกิจกรรมที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็เป็นตัวเชื่อมโยงการใช้งานต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งผู้ออกแบบเรียกผังในลักษณะนี้ว่า Broken Plan

การใช้สอยของตัวอาคารประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ ส่วนบริหาร ส่วนห้องสมุด ส่วนบรรยาย ส่วนปฏิบัติการ และส่วนโรงอาหาร มีทางเดินแกนกลางระหว่างกลุ่มอาคารในการสร้าง “สมาธิ” ก่อนเข้าห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสงบและตั้งใจกับการเรียนในแต่ละวิชา ทางเดินที่ขรุขระ ต้นไม้ที่กีดขวางสายตา ขนาบด้วยผนังสูง ทำให้ผู้เดินเกิดความรู้สึกต้องระมัดระวังตลอดเวลาขณะเดิน นอกจากนี้แล้วทางเดินดังกล่าวยังทำให้ผู้เดินเกิดความรู้สึกถึงการเดินอยู่ภายในอาคารและภายนอกอาคารไปพร้อมๆ กัน

 

All areas here are full of silence, caused by high wall surrounding which prevents noise from inside and outside. Silence originates idea, imagination and creativity, making people be more themselves. It slows down the world’s rush movement for in order that human can stop to review things that happened. User can feel of slowness in order to produce works with good quality more than quantity. Silence tells everything that happened to visitors.

Classroom was designed to be dimness with solid wall and small lighting voids which provide peaceful night atmosphere for student. Interior decoration of the school building is than that of common buildings which interrupts students’ concentration. This building helps enhance users to initiate imagination under the dimness.

Due to emptiness and peacefulness of the site, it is no need to design an outstanding building to attract people. Thus, the building is a placid cubic revealing a space filled with trees, air and natural light. Shadow occurs by deforming a perfect cubic form is called Creative Destruction. Plane reflections provide a maze with facadeless ; however, users can perceive the entrance by their own instinct. The architecture of this institute was designed to harmonize with emptiness and uncultivated site without a symbolic form.

For the past 10 years, brick buildings in Thailand have nearly been faded out due to some researches claiming that brick is the highest heating gain material. Such belief leads to refusal to use bricks in building construction. Therefore, brick makers lost their jobs and the younger have to work for the Estate Industry instead.

For this project, the architect wanted to present a different idea from those imperfect claims. He used handmade bricks, one size larger than usual, to proof the value of these ordinary materials that have been used for more than 700 years the value of human power, perseverance, and knowledge inheritance from the older to younger.

A change has occurred to handmade bricks which have to be hidden underneath plaster skin for years, now over 600,000 pieces of them laid as the wall surrounding the space show their skins that were made by different hands of the older. Light and shadow that reach on the wavy-skin wall emphasize their skin’s sharpness and tenderness which is called “Homogeneous Wall”. Reducing temperature of the brick wall by porous lets centralize-porous to slow down heat transfer from bricks’ surface to the building. This design illustrates an “aesthetic” that is missing in architectural research.

ทุกพื้นที่ของกันตนาจะเต็มไปด้วยความเงียบ อันเกิดจากกำแพงสูงที่โอบล้อมผู้คนและธรรมชาติ เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกและภายใน ความเงียบเป็นบ่อเกิดแห่งความคิด จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้มนุษย์อยู่กับตัวเองมากขึ้น ความเงียบเป็นการชะลอความรีบเร่งของกระแสโลก ให้มนุษย์ได้หยุดทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้ใช้อาคารจะได้สัมผัสถึงความช้า เพื่อสร้างงานที่มีคุณภาพที่ดีมากกว่าปริมาณ ความเงียบในพื้นที่แห่งนี้จึงบอกทุกสิ่งถึงเรื่องราวที่ผ่านมาแก่ผู้มาเยือน

ภายในห้องเรียนถูกออกแบบให้มี “ความสลัว” ด้วยผนังทึบสลับกับช่องแสงเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเหมือนอยู่ในเวลากลางคืนที่สงบ ดังนั้นภายในอาคารเรียนจึงไม่มีการตกแต่งภายในมากมายเหมือนอาคารทั่วไป ซึ่งจะเป็นการทำลายสมาธิของพวกเขา อาคารหลังนี้จึงเป็นที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดจินตนาการท่ามกลางความสลัว

ด้วยสภาพที่ดินอันว่างเปล่า เงียบสงบ การออกแบบรูปทรงของอาคารจึงไม่ต้องการทำให้อาคารโดดเด่น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้คน อาคารจึงมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ดูสงบ เปิดเผยให้เห็นช่องว่างที่บรรจุ ต้นไม้ อากาศ แสงธรรมชาติ เงามืดอันเกิดจากการทำลายรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ที่สมบูรณ์ ซึ่งเราเรียกวิธีการนี้ว่า การทำลายอย่างสร้างสรรค์ การสะท้อนกันไปมาของระนาบทำให้ดูราวกับเป็นเขาวงกตที่ปราศจากรูปด้านหน้า แต่ผู้ใช้สอยสามารถรับรู้ถึงทางเข้า-ออกได้ด้วยสัญชาตญาณ สถาบันกันตนาจึงเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบให้กลมกลืนกับที่โล่งอันรกร้าง ด้วยรูปทรงที่ปราศจากสัญลักษณ์

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การก่อสร้างด้วยอิฐมอญในประเทศไทยแทบสูญสลาย อันเนื่องมาจากความเชื่อในผลการวิจัยที่ว่า อิฐเป็นวัสดุที่สะสมความร้อนมากที่สุด ส่งผลให้อาคารส่วนใหญ่ปฏิเสธการใช้อิฐมอญในการก่อสร้างอาคารอีกต่อไป ทำให้ชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่มีอาชีพการทำอิฐต้องตกงาน คนหนุ่มสาวต้องหันไปขายแรงงานให้กับนิคมอุตสาหกรรม

ในโครงการนี้ผู้ออกแบบต้องการนำเสนอความเห็นที่แตกต่างจากผลการวิจัยที่ไม่สมบูรณ์นี้ ผู้ออกแบบได้เลือกใช้อิฐมอญปั้นมือ ซึ่งเป็นอิฐขนาดใหญ่กว่าปกติ 1 เท่าตัว เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าของวัสดุธรรมดาที่ใช้กันมากว่า 700 ปี คุณค่าแห่งพลังมนุษย์ ความอุตสาหะ การสืบทอดองค์ความรู้จากคนแก่ไปสู่เด็ก

อิฐมอญปั้นมือจำนวนกว่า 600,000 ก้อนที่โอบล้อมที่ว่าง เปิดเผยให้เห็นผิวอิฐแต่ละก้อนที่ทำจากมือของคนแก่แต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน หลังจากที่อิฐเหล่านี้ซ่อนตัวอยู่ใต้ผิวปูนฉาบในอดีตมาอย่างยาวนาน แสงและเงาที่อาบบนผิวผนังที่ทำเป็นคลื่น อวดให้เห็นผิวสัมผัสที่คมชัดและนุ่มนวลราวกับเนื้อเดียวกัน ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Homogeneous Wall” การลดอุณหภูมิของผนังอิฐโดยทำโพรงอากาศ ทำให้ความร้อนในผิวอิฐด้านนอกถูกโพรงอากาศที่อยู่กึ่งกลางชะลอความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี งานออกแบบนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึง “สุนทรียภาพ” ที่งานวิจัยทางสถาปัตยกรรมขาดหายไป

 

For this project, the architect would like to create an innovation from the combination of engineering and art knowledge through the construction. Underneath a smooth brick skin is supported by a complicated steel structure; vary in size due to brick’s weight, including the overlay distance and gravity. Brickwork is made by the unemployed neighborhoods. A specialist teaches them to lay bricks through a prototype. Making an impossible brick wall possible causes challenge and passion. Engineer, brick mason, smith and brick maker take their roles in building this architecture as it is.

Using bricks and innovation through construction method is the starting point of turning unemployed workers to be curious. This building help to prolong the traditional wisdom before being disappeared. Workers will earn not only wages but also a “chance” that makes them feel not being neglected by society. Meanwhile, architect has learned to work with heart and realize the value of “hand”. The placidity which is the base of Thai culture has been propagated to this building. Shade of wall, roof and trees provide peacefulness which creates new intellect and imagination for students and teachers.

สำหรับโครงการนี้ ผู้ออกแบบต้องการที่จะสร้างนวัตกรรม ด้วยการผสมผสานความรู้ทางวิศวกรรมและศิลปะเข้าด้วยกัน ผ่านวิธีการก่อสร้างภายใต้ผิวอิฐที่ดูสงบนิ่ง ถูกรองรับด้วยโครงเหล็กที่ซับซ้อนขนาดต่างๆ ตามน้ำหนักของอิฐ รวมทั้งระยะการซ้อนทับของก้อนอิฐ และแรงโน้มถ่วง แรงงานในการก่ออิฐมาจากชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงที่ว่างงาน โดยมีช่างผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการเรียงอิฐผ่านต้นแบบ การทำโครง สร้างผนังที่ดูจะเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ก่อให้เกิดความท้าทายและความกระตือรือร้น วิศวกร ช่างก่อสร้าง ช่างเหล็ก ช่างปั้นอิฐ นับเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการทำให้สถาปัตยกรรมแห่งนี้มีรูปร่างหน้าตาดังที่ปรากฏ

การใช้อิฐมอญและนวัตกรรมผ่านการออกแบบวิธีการก่อสร้าง เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนที่ไร้งานทำให้กลายเป็นผู้ใฝ่รู้ การก่อสร้างอาคารหลังนี้จึงเป็นเสมือน “การต่อลมหายใจ” ทางภูมิปัญญาที่มีมาแต่อดีตก่อนที่จะสูญสลาย สิ่งที่พวกเขาได้รับไม่ใช่เพียงแค่เงินค่าจ้าง แต่เป็น “โอกาส” ที่พวกเขารู้สึกว่ายังไม่ถูกสังคมทอดทิ้ง ในขณะที่ผู้ออกแบบได้เรียนรู้ถึงการใช้ “จิตใจ” ในการทำงาน และตระหนักในคุณค่าของ “มือ” ภายใต้ความสงบอันเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของสังคมไทยได้ถูกถ่ายทอดสู่อาคารหลังนี้ ร่มเงาของผนัง หลังคา และต้นไม้ ได้สร้างความสงบที่เป็นบ่อเกิดปัญญา และจินตนาการใหม่ๆ สำหรับผู้เรียนและผู้สอน

For Kantana Institute, constructing on useless land, designing new behavior for users to have consciousness and concentration by dimness, creative destroying that provides space for nature, a form without front elevation as a maze but perception of approach, aesthetic of handmade brick wall wisdom which is almost disappeared, combination of steel structure and brick which is like the meeting point of engineering and art that creates innovation and offers job opportunity to the community, prolong livelihood before becoming a historical record, peacefulness of architectural shade and tree based on humility, gentleness, and hospitality towards human being, including build up an architecture with heart are what everyone has learned before being this architecture. It also guarantees that “Kantana Institute is the architecture beyond architecture”.

สำหรับสถาบันกันตนานั้น การทำสิ่งก่อสร้างบนที่ดินไร้ประโยชน์ การออกแบบพฤติกรรมใหม่ให้กับผู้ใช้อาคาร ด้วยการมีสติ และความสลัว ทำให้เกิดสมาธิ การทำลายอย่างสร้างสรรค์ ทำให้เกิดที่ว่างสำหรับบรรจุธรรมชาติ รูปทรงที่ไร้รูปด้านหน้าแบบเขาวงกต แต่ทำให้รับรู้ว่ามีทางเข้า-ออกอยู่ การสร้างสุนทรียภาพจากอิฐมอญปั้นมืออันเป็นภูมิปัญญาที่เกือบสูญสลาย การผสานโครงสร้างเหล็กและอิฐเสมือนการบรรจบกันระหว่างวิศวกรรมและศิลปะ ก่อให้เกิดนวัตกรรม การสร้างงานและโอกาสให้แก่ชุมชน เป็นการต่อลมหายใจให้กับวิถีชีวิตก่อนที่จะเหลือเพียงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ความสงบที่เกิดจากร่มเงาของสถาปัตยกรรมและต้นไม้ มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมที่ถ่อมตัว อ่อนโยน และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อมนุษย์ รวมไปถึงการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยใจ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ทุกคนได้เรียนรู้ก่อนที่จะเป็นสถาปัตยกรรม และเป็นเครื่องยืนยันว่า “สถาบันกันตนา คือสถาปัตยกรรมที่เป็นมากกว่าสถาปัตยกรรม”

 

Lesson from Kantana Institute to the world The important world crisis in 2010 is the European economic crisis which affected all livelihoods, for example layoffs and salary reduction due to construction project suspension. All emotion had been represented through the 13th International Architecture Exhibition of La Biennale di Venezia in 2012.

Meanwhile, there is an intellectual crisis in Thailand ; architecture in our country trend follows worlds’ architecture trend excessively. Our city is full of Plastic Architecture, Formatic Architecture, and Facadism from architectural schools that teach students to become an Architstar. In this period of time, Thai architects keep following world famous architect.

Kantana Institute formally opened its building for film and animation class in 2011, after 6 years of design and construction. The naked brick wall surrounds space, nature, and people to assimilate all into one. Dimness and concentration in a space gradually adjust students’ behavior to separate from outer world. This reflects an Atmospheric Architecture. The story of several 100,000 pieces of small bricks that passed over hands represents society, livelihood, and belief that architects have never known. We think of craftsman as a worker not an artist. This architecture prolongs the life of brick maker which is almost going to die out. Why? As architect, we can answer this question easily. Cooperative among craftsmen from different races and religions, political, boundary and religious conflicts, is very impressive. Forgotten wisdom has been rejuvenated and becomes innovation through and in-depth thought in ourselves for decades.

Kantana Institute illustrates the Survival Architecture philosophy through spending budget as necessary, set construction priority on usage. This is a small starting point of peace on difference; whoever they are, wherever they come from. This place is a sign of growth and knowledge sharing based on freedom.

Kantana building received international award and has been published to the world, in order to urge architects’ awareness of architecture that improves human’s quality of life among our long-existing culture. This is the lesson in doing survival architecture for survival amidst economic crisis. It also reminds architects to rethink consciously of self-progenitor because no one knows when the crisis in the other side of the world will affect our country.

บทเรียนจากสถาบันกันตนา สู่สังคมโลก เหตุการณ์สำคัญของโลกในช่วงทศวรรษที่ 2010 คงเป็นเรื่องภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปตกต่ำอย่างหนัก ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน การปลดพนักงาน ลดเงินเดือน อันเป็นผลมาจากการระงับงานก่อสร้างในโครงการต่างๆ ทั่วภูมิภาค ความรู้สึกต่างๆ ได้สะท้อนผ่านงานนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติแห่งเมืองเวนิช ครั้งที่ 13 (The 13th International Architecture Exhibition of La Biennale di Venezia) ในปี 2012

ในขณะที่ไทยได้เกิดวิกฤตการณ์ทางปัญญา สถาปัตยกรรมในประเทศไทยกำลังก้าวเดินตามกระแสโลกอย่างฟุ่มเฟือย เมืองที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมพลาสติก (Plastic Architecture) ความคลั่งไคล้รูปทรง (Formatic Architecture) และลัทธิรูปด้านหน้า (Facadism) ล้วนมาจากหลักสูตรในโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่สอนให้นักเรียนมุ่งสู่การเป็นสถาปนิกดารา (Architstar) เป็นช่วงเวลาที่สถาปนิกไทยอยู่ภายใต้ร่มเงาของสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของโลก

ในปี 2011 สถาบันกันตนาได้เริ่มเปิดใช้อาคารสำหรับการเรียนการสอนทางด้านภาพยนตร์และแอนิเมชั่น ขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังจากใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างกว่า 6 ปี กำแพงอิฐเปลือยที่โอบล้อมที่ว่าง ธรรมชาติ และผู้คนให้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ความสลัว สมาธิ ภายในพื้นที่ว่าง ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนให้หลุดพ้นจากโลกภายนอก สะท้อนให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมเชิงบรรยากาศ (Atmospheric Architecture) เรื่องราวการเดินทางของอิฐก้อนเล็กๆ นับแสนก้อนผ่านมือผู้คน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเชื่อ ที่สถาปนิกไม่เคยรู้ ในจิตใจของพวกเรามักมองช่างฝีมือในฐานะกรรมกรไม่ใช่ศิลปิน สถาปัตยกรรมแห่งนี้ได้ต่อลมหายใจให้กับคนทำอิฐที่กำลังจะเลิกโรงงาน เพราะอะไรสถาปนิกอย่างพวกเราคงตอบคำถามนี้ได้ไม่ยาก การทำงานร่วมกันระหว่างช่างต่างชาติต่างศาสนา ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง เขตแดน และศาสนา เป็นภาพที่น่าประทับใจ ภูมิปัญญาที่ถูกลืมได้ถูกเรียงร้อยขึ้นมาอีกครั้ง จนกลายเป็นนวัตกรรมผ่านความคิดที่ลึกซึ้งที่มีอยู่ในตัวพวกเรามานานนับศตวรรษ

สถาบันกันตนาได้สะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาของสถาปัตยกรรมเพื่อความอยู่รอด (Survival Architecture) ด้วยการใช้งบประมาณตามความจำเป็น ลำดับความสำคัญของการก่อสร้างตามการใช้งาน เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของสันติภาพบนความแตกต่าง ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใคร มาจากไหน สถานที่แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการเติบโต แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างเสรี

อาคารกันตนาได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ และถูกตีพิมพ์สู่สายตาชาวโลก เพื่อให้สถาปนิกได้ตระหนักถึงสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ท่ามกลางวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนาน เป็นบทเรียนของการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่รอดท่ามกลางมรสุมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นเครื่องเตือนใจให้สถาปนิกหันกลับมาทบทวนถึงพื้นฐาน รากเหง้าตนเอง อย่างมีสติ เพราะคงไม่มีใครรู้ว่าชะตากรรมอีกฝั่งซีกโลกหนึ่งจะลุกลามมาถึงประเทศเราเมื่อไร

Source: ISSUE 05 DEC / JAN 2013-2014


Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page