FUTURE LEARNING ENVIRONMENTS
The architecture of the academic centers has traditionally been viewed as a means of satisfying utilitarian functionality, but in fact imposing architectural plans are more than just an accidental arrangement of space and building materials, they reflect distinctive educational assumptions and pedagogical objectives, a particular approach to learning, or a certain educational philosophy.
Students in the 21st century have other learning demands and space designs should be adapted according to nowadays education objectives such as creativity, collaboration and student centered learning. Grounded on research, learning and higher education, ”Future Learning Environments” is a project by Stockholm County Council and Karolinska Institute in Sweden, where the main objective was to improve and expand teaching environments for its students. They commissioned the interior design studio Tengbom to develop the interiors of the project and also interpret Karolinska Institute’s design manual on the Formal Learning Environments.
Choosing the “home” as a metaphor, Tengbom proposed to create a “Home away from Home” a second home for the informal zones at the Karolinska Institute in Solna. These facilities are located primarily next to the lecture halls and were initially “leftover” and unused areas.
The “Home away from Home” concept meant a natural meeting place, a social arena, where students, teachers and researchers can meet and get together, exchange thoughts and ideas, socialize, learn from one another-peer learning. A meeting place with areas for meals, communal activity, open squares and reading areas for concentrated study, but also with a central information point. The end result is a compact and cosy environment, which creates a positive, productive hustle and bustle. This variety was designed to help people from different cultures to get on well together and feel at home. Through this new interior design for Karolinska Institute at Solna, its brand is strengthened into a place accessible to everyone.
แนวคิดการออกแบบพื้นที่เพื่อการศึกษาในอนาคต
พื้นที่เพื่อการศึกษาในอนาคต...จะเน้นการออกแบบให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันเป็น หลัก
ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของสถานศึกษาในแบบเดิมๆ อาจตีความหมายถึงความพึงพอใจในพื้นที่ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริง การออกแบบงานสถาปัตยกรรมเป็นมากกว่าการจัดวางพื้นที่และการเลือกใช้วัสดุ รูปลักษณ์ของอาคารที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะที่โดดเด่น และวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่มีอยู่ภายในอาคาร ยังสื่อถึงหลักแนวความคิดของการศึกษาบางอย่างได้ด้วย
การออกแบบพื้นที่ย่อมมีผลต่อการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษา โดยในอนาคตจะมีการออกแบบพื้นที่เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นหลัก Stockholm County Council and Karolinska Institute ประเทศสวีเดน ได้ศึกษาถึงสภาพแวดล้อมในการศึกษา เพื่อพัฒนาและขยายการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานออกแบบตกแต่งภายในอย่าง Tengbom เป็นผู้พัฒนาและออกแบบพื้นที่ภายในโครงการนี้ โดยมีแนวคิดในโครงการ คือ “Home Away From Home” เพื่อให้สถานศึกษาเป็นเหมือนกับบ้านหลังที่ 2 ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ใกล้ชิดกับส่วนห้องเรียนด้วย
“Home Away From Home” หมายถึงพื้นที่พบปะกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ที่ซึ่งนักเรียน ครู และนักวิจัย มาใช้ร่วมกัน ได้พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังสรรค์ และเรียนรู้กัน ถือเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างเต็มที่ อาจจะเป็นพื้นที่สำหรับรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมร่วมกันพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่อ่านหนังสือ หรืออาจจะเป็นจุดศูนย์กลางข่าวสาร ที่ให้บรรยากาศอบอุ่น ใกล้ชิด และเต็มไปด้วยความคึกคัก ตื่นตัว ในการหาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งความหลากหลายที่เกิดขึ้น เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้คนจากหลากหลายวัฒนธรรมสามารถเข้ากันได้ง่ายและรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้าน
Project Details: Client: The Karolinska Institute Year of Commission: 2011-2012 Interior Design and Style: Tengbom Photos: © Sten Jansin
Source: ISSUE 05 DEC / JAN 2013-2014