top of page

Design Inspiring Node

THE ORIGINAL THAI HOSTEL SUNETA HOSTEL


With the coming age of ASEAN Economic Community (AEC), Thai entrepreneurs should focus on building and presenting their Thai brands in order to compete with others. Those who think ahead can gain a competitive advantage in business like Khun Noppadol Suneta, the owner of a Thai cultural hostel named ‘Suneta Hostel’

“Before starting Suneta Hostel business, I did many failed business. My first career after graduation was a designer for 3D toy company. I worked for 3 months and then they fired me (laughing) because I went to work only 18 days a month instead of 22 days. When it came to the third month, they gave me a verbal warning. Actually they didn’t fire me, but I was afraid that they would fire me one day, so I quitted my job. After that I set up a website company with my friends. We started it with 7,000 Baht. We did all tasks by ourselves from web design to sales.

First month we ate Mama noodles (laughing). We spent 4,000 baht for a company’s registration and we kept the rest for necessities. I used my mother’s house as an office because I was quite lazy and I didn’t like to be an employee. I worked for this company for 6 years. At the beginning, we didn’t have any customers, but it was getting better within 2-3 years. We got more jobs and earned more money. Then we started to expand our business, relocate an office, hire more employees (30 employees in total) and one day the company couldn’t get sufficient profits to move on, so we decided to close it.

After his business failure, Noppadol went back to have a simple way of life by working as a freelance designer. Although he earned enough to live, it was not what he wanted exactly for his career path. With a lot of free time, he had more chance to travel and that was the beginning of Suneta Hostel.

“After closing my first company, I earned for a living by designing packaging and products. At that time I worked as a freelancer, so I had more time to travel. I went to Chiang Khan and I thought that I would be so happy if I could own a guesthouse here. I went there every week in order to find proper spaces to create a guesthouse. There I knew a guy who sold shaved ice, named P’Oun. He helped me to find spaces or houses around Chiang Khan. I found an interesting one, but P’Oun told me that he couldn’t find the owner, so I traveled from Bangkok to Chiang Khan about one and a half month. Finally P’Oun told me that actually the house I wanted (the house that he told me he couldn’t find the owner) was his house (laughing). So he decided to rent out his house at 4,000 baht per month. As I really liked the house, I agreed for the price even it was 3,000 Baht higher than others. Then I made one year advance payment and started to find contractors.As Chiang Khan is an old town witha 100-year milestones, I restored this house by keeping its original style, harmonizing it with its surroundings as if it was a part of town. I started with 10 rooms, hired some laborers, designed and did almost everything by myself such as painting, hanging lamps, planting trees. Most things I used were from Bangkok. At first this house looked like a haunted house; there were stains in woods because it was wasted for years. Once I had money,I spent money on restoration gradually. So in total I invested money around 1 million baht and the payback period was only one year. I think I was lucky because in 2009 people started to get bored of Pai , so they came to Chiang Khan. The other thing isI didn’t invest a big amount of money.

Noppadol told us that first he didn’t expect that this hostel would work well. He just knew that he wanted to do it. He thought that “ If he did what he liked,it would made neither profit or loss and if others also liked what he did, it would mean a profit ”. Finally, Suneta in Chiang Khan made a good profit and became a favorite place for travellers which consequently led to an idea of a new hostel chain.

“In Chiang Khan the high season is in December or during long public holiday period, but after February (for around 8 months) it is very quiet. Therefore, I tried to find a new space in Bangkok because there were more business opportunities. First I wanted to have a riverside space, but I couldn’t find a proper one as most riverside areas were slum. At last I got this shophouse in Banglampoo area. I liked here because it was not too far and not too close from Khaosarn road. I decorated it in an old Thai style that brought you back to the atmosphere ofold town Bangkok”

Suneta Hostel is located in Banglampoo area. Noppadol transformed a shophouse into an old Thai style hostel with convenient and various accommodation services. The space has been divided into mixed female and male dormitory rooms with 16 beds each. For more privacy,the hostel provides a Thai wooden capsule bed with a lockable sliding door and personal TV. There is also a 16-bed(8 bunk beds) mixed dormitory room for those who don’t want much private time. He also told us that the payback period was only few months and he is going to launch a new Suneta Hostel, located in the area close to Rachanadda temple.“People know this hostel from online booking sites and word of mouth. I didn’t do any advertisements. Suneta Hostel focuses on cordial, friendly, helpful service which is different from a service in hotels which are always very formal. I am not interested much in marketing. I like one of Steve Jobs ideas: “You just make your best product and customers will automatically come to you, and marketing will play a role when you don’t have outstanding products or services.I launched this hostel in 2012 and now I am working on the third one in Ratchanadda temple area. If you ask me how AEC will affect my business, I think that one day if I have opportunities,I will open more and more hotel chains. If possible, I may open one in Myanmar or Vietnam. When I have a stable management system, I will expand my chains across Asia. All hostels will use the same service standards, but changing some decorative styles to harmonizewith their location and surrounding.For example, if I have one in Cambodia,I will decorate it as a traditional Cambodian house. I think it can continue growing because South East Asia is a traveling destination.

Nowadays I think that hostels are similar to bubble tea shops or photo sticker machines. Many years ago, we saw plenty of photo sticker machines everywhere. Now in Thailand we can find bubble tea shops, coffee shops everywhere. I think it is a way of Thai people doing business. They always do the same business as others. A couple days ago I just told my friend: “Don’t do something because you see others can do it well. You should do something you know that you can do better than others.”

ในยุคที่ใครต่อใครต่างพูดถึง AEC หรือการรวมตัวกันเป็น ‘ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน’ ได้อย่างคล่องปาก น่าจะเป็นช่วงที่โปรดักส์แบรนด์ไทย หรือ ‘ความเป็นไทย’ ถูกนำมาทำให้โดดเด่น เพื่อ ‘ขาย’ แข่งเพื่อนบ้านกันให้ได้มากขึ้น แต่สำหรับผู้ที่คิดและสร้างสรรค์มาล่วงหน้าเนิ่นนานก็คงจะได้เปรียบคนที่เพิ่งคิดได้หลายช่วงตัว อย่างคุณนพดล สุเนต์ตา เจ้าของโฮสเทสรูปลักษณ์อย่างไทยที่โดนใจตะวันตก

“ก่อนจะมาทำสุเนต์ตา โฮสเทล ผมเจ๊งมาแล้วหลายอย่าง อาชีพแรกสุดเลยเป็นนักออกแบบ เรียนจบมาก็ไปทำงานอยู่ที่บริษัททำโมเดลของเล่นสามมิติ ทำงานอยู่ 3 เดือนเขาก็ให้ออก (หัวเราะ)วันทำงานเดือนหนึ่งประมาณ 22 วัน ผมไปทำงาน 18 วัน ส่วนอีก 4 วันไม่ได้ไปทำงาน พอเข้าเดือนที่ 3 ก็เลยถูกเรียกไปคุย จริงๆ ไม่ได้ถูกไล่ออกหรอก ผมชิงลาออกก่อน หลังจากนั้นก็มาทำบริษัททำเว็บไซต์กับเพื่อน ตั้งบริษัทด้วยเงิน 7,000 บาท เริ่มจากทำเว็บตัวเอง แล้วก็วิ่งขายงาน เดือนแรกกินแต่มาม่า (หัวเราะ) จ่ายเงินค่าจดทะเบียนบริษัทไป 4,000 ที่เหลือเอาไว้กิน ใช้บ้านแม่เป็นออฟฟิศ เหตุผลที่ไม่ไปหางานทำเพราะพบว่าตัวเองเป็นคนขี้เกียจ ไม่อยากเป็นลูกจ้างใคร ช่วงแรกๆ เราไม่มีลูกค้าเลย หลังๆ ก็เริ่มมีลูกค้ามากขึ้น ผมทำบริษัทนี้อยู่ 6 ปี จริงๆ 2-3 ปี แรกก็เริ่มอยู่ได้ เรารับงานรับเงินใหญ่ขึ้น เงินหมุนเวียนมากขึ้น แต่มันก็เหมือนธุรกิจฟองสบู่ ช่วงที่เงินเข้าเราก็ขยายบริษัทย้ายออฟฟิศ มีพนักงานมากขึ้นเป็น 30 คน แต่วันหนึ่งมันก็หาเลี้ยงตัวเองไม่ทัน สุดท้ายจึงปิดตัวลง”

หลังบริษัทที่ปลุกปั้นมาเปิดตัวล้มลง คุณนพดลเดินกลับไปใช้ชีวิตในแบบเรียบง่ายด้วยการรับงานกราฟิกและออกแบบ แม้จะเป็นงานที่เลี้ยงตัวเองได้อย่างดี แต่ก็ไม่ได้มีความก้าวหน้าในแบบที่ต้องการนัก ในช่วงที่ชีวิตมีความเสรีแบบนั้น คุณนพดลมีโอกาสเดินทางบ่อยขึ้น และนั่นเป็นเริ่มต้นเล็กๆ ของสุเนต์ตา โฮสเทล ในวันนี้

“บริษัทแรกเจ๊งผมก็เลยไปรับงานกราฟิกเล็กๆ น้อยๆ เลี้ยงตัวเอง ทำแพ็คเกจจิ้งบ้าง โปรดักส์ดีไซน์บ้าง งานมันก็เรื่อยๆ เลี้ยงตัวเองได้ แต่คงไม่ก้าวหน้าไปกว่านั้น ตอนนั้นทำงานอิสระหน่อย ผมเลยได้ไปเที่ยวเชียงคานในยุคที่คนยังไม่พูดถึงก็คิดแค่ว่าถ้าได้ทำเกสต์เฮ้าส์อยู่ที่นี่คงมีความสุขดีนะ วันศุกร์ก็ขึ้นรถทัวร์ไปละ ไปเดินหา ไปทุกสัปดาห์จนรู้จักพี่อ้วนขายน้ำแข็งไส พี่อ้วนก็พาเดินหาแต่ไม่เจอที่ถูกใจ จริงๆ มันก็มีที่ที่ชอบในตอนแรก แต่พี่อ้วนบอกว่าไม่รู้เจ้าของไปไหน ผมขึ้นลงกรุงเทพฯ - เชียงคานอยู่เดือนกว่าๆ จนวันหนึ่งพี่อ้วนก็ถามว่า นพดลอยากได้หลังนี้จริงเหรอ ของพี่อ้วนเองนั่นแหละ (หัวเราะ) สรุปว่าหลังที่เราเล็งไว้และไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ ก็ของพี่อ้วนนั่นแหละพี่อ้วนก็เลยตัดสินใจให้เช่า ตอนนั้นบ้านหลังหนึ่งที่เชียงคานเช่าแค่เดือนละพันเอง ของพี่อ้วนแกให้เช่า 4,000 เราก็เอา จ่ายล่วงหน้าปีหนึ่ง และจัดการหาช่างมาทำเงินก็ไม่มีหรอก แต่อยากทำ

ตอนนั้นผมรับงานแล้วหาเงินได้ก็เอาไปสร้างต่อเติมเรื่อยๆ ความที่มันเป็นเมืองร้อยปี เราก็ทำย้อนยุค เราไม่เปลี่ยนกรอบ แค่บูรณะให้มันเหมือนเดิมมากที่สุด คงความเป็นส่วนหนึ่งกับเมืองเริ่มต้นจาก 10 ห้อง จ้างคนมาช่วยทำเราก็เหมือนลูกพี่ กินนอนอยู่กับเขา ลุยทุกอย่าง สไตล์การออกแบบต้องบอกว่าตามใจฉันมาก ทาสีเสร็จ ก็ติดโคมไฟ ลงต้นไม้ ของหลายอย่างก็ขนไปจากกรุงเทพฯ ตอนแรกเป็นบ้านผีสิงเลย เป็นคราบในเนื้อไม้ เพราะร้างมานานหลายสิบปี เราก็ลงทุนไปประมาณล้านกว่าบาท แต่ค่อยๆ ลง ทำงานได้ก็เอาไปทำเพิ่ม ผมว่าคงเป็นโชคดีด้วยส่วนหนึ่งที่พอทำเสร็จแล้วคนก็เข้ามาพอดี มันเป็นจังหวะ ประมาณปี 2009 คนเริ่มเบื่อปาย ก็มาเชียงคานกัน ผมทำปีเดียวก็คืนทุน ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่ได้ลงทุนสูงด้วย ทำอะไรได้ก็ทำเองหมดเลย ทาสีเองได้ก็ทาเอง ลุยเอง”

คุณนพดลเล่าว่าแรกทีเดียวไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อทำโฮสเทลที่เชียงคานแล้ว ‘จะไปได้ดี’ ในทางธุรกิจ รู้แต่ว่า อยากทำก็ทำ“คิดแต่ว่า ถ้าทำแล้วชอบก็เท่าทุน ถ้าทำแล้วคนอื่นชอบด้วยก็ถือว่าเป็นกำไร” แล้วสุเนต์ตาก็สร้างกำไร และเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวจนต้องสร้างแห่งต่อมา

“ที่เชียงคานจะมีฤดูกาลของมันคือ ช่วงวันหยุดเทศกาล เดือนท่องเที่ยว อย่างธันวาคมก็วันหยุดเยอะ แต่พอหลังกุมภาพันธ์ไปแล้วจะมีช่วงเงียบอยู่ประมาณ 8 เดือน เงียบมาก ดังนั้นพอเราเห็นว่าจริงๆ เราสนุกจะทำอะไรแบบนี้ก็เลยมองหาที่ใหม่ๆ ในกรุงเทพฯ เพราะฤดูกาลไม่ได้เป็นข้อจำกัดของที่นี่ ตอนแรกก็มองหลายที่ จริงๆ อยากทำริมแม่น้ำแต่เท่าที่เห็นริมน้ำจะเป็นชุมชนแออัด เราเลยไม่สามารถหาที่ที่เป็นริมแม่น้ำได้ ก็เลยตัดไป มาได้ตึกนี้ในย่านบางลำพู ผมชอบที่นี่เพราะไม่ใกล้ไม่ไกลจากถนนข้าวสารเท่าไหร่ ไม่ห่างมากไปและก็ไม่ใกล้จนกลางคืนนอนไม่ได้ เราตกแต่งแบบเดิมเลย เป็นสไตล์ไทยๆ มีกลิ่นอายบางกอกเกี้ยน”

สุเนต์ตา โฮสเทล ข้าวสาร ตั้งอยู่บนพื้นที่ตึกแถวย่านบางลำภูที่ถูกคุณนพดลเนรมิตรขึ้นด้วยการตกแต่งให้มีกลิ่นอายของความเป็นไทยย้อนยุค แต่ร่วมสมัย ด้วยความสะดวกสบายหลายส่วนที่นำมาใช้ ห้องพักที่โดดเด่นแบบหนึ่งสำหรับผู้มาเยือนคือการปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งของชั้น 3 เป็นห้องเตียงนอนแบบบนล่าง แบ่งเป็นห้องชาย-หญิง ห้องละ 16 เตียงนอน และเพิ่มความเป็นส่วนตัวด้วยการออกแบบให้แต่ละเตียงเป็นห้องปิดคล้ายแคปซูลไม้ส่วนตัวที่ปิดล็อคได้ ภายในยังมีทีวีส่วนตัวแต่สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการความส่วนตัวขนาดนั้น คุณนพดลก็เนรมิตพื้นที่อีกชั้นให้เป็นห้องนอนรวมแบบเตียงสองชั้นบนล่าง 16 เตียง ซึ่งผู้บริหารหนุ่มแอบกระซิบว่า คืนทุนภายในเวลาไม่กี่เดือน จนมีโครงการใหม่ที่จะเปิดตัว สุเนต์ตาอีกแห่งย่านวัดราชนัดดารามวรวิหาร

“คนที่รู้จักเราส่วนมากจะมาจากเว็บไซต์จองห้องพัก มาแบบปากต่อปาก สังเกตว่าเราไม่ได้ทำโฆษณาเลย สุเนต์ตาเน้นความเป็นกันเอง แบบเพื่อนบริการเพื่อน เราก็ค้าบริการนะ แต่ไม่ใช่แบบบ่าวบริการนายเหมือนการบริการในโรงแรม แต่เพื่อนช่วยเพื่อน อยากได้อะไรว่ามา จัดได้เราจัดให้ผมไม่ได้สนใจการตลาดมาก ผมเชื่อแนวคิดแบบสตีฟ จ้อปส์ที่ว่าคุณแค่ทำสินค้าของคุณให้ดีที่สุด แล้วคนก็เข้ามาเอง การตลาดจะมีบทบาทก็ต่อเมื่อคุณไม่ได้มีสินค้าหรือบริการที่โดดเด่นหรือแตกต่างไปจากคนอื่น เราเปิดปี 2555 ไม่นานก็คืนทุน และตอนนี้ก็กำลังจะทำที่ที่ 3 ย่านโลหะปราสาทถ้าถามว่า AEC จะมีผลต่อเรามาแค่ไหนผมมองว่าวันหนึ่งที่มีโอกาสเราอยากเปิดสาขาไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นไปได้อาจจะมีสุเนต์ตา สาขาเมียนมาร์ เวียดนาม บ้างไหม เมื่อเรามีระบบจัดการของเราเราอาจจะสามารถขยายออกไปได้ทั่วภูมิภาค ในมาตรฐานการดูแลแบบเดียวกัน แต่อาจจะปรับการตกแต่งให้เข้ากับพื้นถิ่น สมมุติว่าไปอยู่กัมพูชาเราอาจจะทำบ้านเก่าแบบกัมพูชา จริงๆ มันยังโตไปได้อีกเรื่อยๆ เพราะจริงๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มันคือรูทในการท่องเที่ยว ถ้าเป็นไปได้เราก็อาจจะขยายเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

ทุกวันนี้ผมมองว่าโฮสเทลมันก็เหมือนร้านขายชานมไข่มุกนะ เหมือนพวกตู้ถ่ายสติ๊กเกอร์สมัยก่อน เราเคยเห็นตู้สติกเกอร์เต็มไปหมด วันหนึ่งตู้ว่างก็เต็มไปหมด ตอนนี้บ้านเราก็กำลังมีร้านกาแฟเยอะไปหมดเหมือนกัน มันเป็นแนวคิดการทำธุรกิจแบบคนไทย เห็นใครทำอะไรว่าดีก็ทำตาม ตอนนี้ก็กำลังเกิดกับโฮสเทล เมื่อไม่กี่วันก่อนผมเพิ่งพูดกับเพื่อนว่า เราอย่าทำอะไรเพราะเราเห็นว่าคนอื่นทำแล้วได้ดี แต่ให้เราทำอะไรที่เรารู้ว่าเราทำได้ดีกว่าคนอื่น”

Source: VOL 03 ISSUE 02 APR / MAY 2014

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page