top of page

Design Inspiring Node

OUTSTANDING THAINESS THAINESS โชว์เด่นความเป็นไทย

‘Thainess’ export is interesting and has market value both in physical aspect and PR Value. Concerning to that the SUPPORT Arts and Crafts International Center of Thailand (Public Organization) or SACICT set up a program to support craftsman inheriting skill from his ancestor by developing and extending interesting ideas in 9 Categories with 11 Persons. This is a good to introduce them.

การส่งออก ‘ความเป็นไทย’ น่าสนใจและมีมูลค่าทางการตลาด ทั้งที่เป็นรูปธรรมและมูลค่าทางการระชาสัมพันธ์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. เล็งเห็นความสำคัญนี้จึงได้จัดโครงการส่งเสริมทายาทครูช่างที่สืบทอดผลงานจากบรรพบุรุษด้วยการพัฒนาและต่อยอด ไอเดียไทยๆ หลากหลายประเภทน่าสนใจมาก ซึ่งออกแบ่งเป็น 9 ประเภท รวมทั้งหมด 11 ท่าน เราจึงถือโอกาสนี้หยิบมาเล่าสู่กันฟัง

The elegance of Rattanakosin Khon mask has been maintained with developing and extending approaches like replacing streblus asper paper with mulberry paper, replacing lacquer with epoxy mixed with paper pulp, replacing powder color with acrelic color for duralble, as well applying color theory with Western painting techniques art (Heir: Miss Watana Kaewduangyai)

ช่างทำหัวโขน (Khon Mask Make) ความงดงามของหัวโขนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ถูกสืบสานไว้ โดยพัฒนาต่อยอดด้วยวิธีการใหม่ๆ เปลี่ยนจากกระดาษข่อยมาเป็นกระดาษสา ใช้อีพ๊อกซี่ที่ผสมดินเยื่อกระดาษแทนรักสมุก ใช้สีอะครีลิกแทนสีฝุ่นเพื่อความคงทนไม่หลุดลอกง่าย ทั้งยังประยุกต์ใช้ทฤษฎีสีในศิลปะตะวันตกผสมผสานเทคนิคงานจิตรกรรมสากล (ทายาท: นางสาววัฒนา แก้วดวงใหญ่)

‘Saltmarsh Bulrush’ wicker has been developed and applied with southern Thailand identity by adding gradient coloring dyeing technique. Hence, this handmade is now known as a contemporary product of brand ‘Varni Southern Wickery’ and also well recognized (Heir: Mr. Manatpong Senghuad)

จักสาน - กระจูด (Wicker - Bulrush) ภูมิปัญญางานจักสานกระจูดถูกพัฒนาเพิ่มเสน่ห์ด้วยการนำเอาอัตลักษณ์ภาคใต้มาเพิ่มเทคนิคการสร้างสีสันจากการย้อมสีกระจูดให้เกิดการไล่โทนสีในชิ้นงาน กลายเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยภายใต้แบรนด์ ‘หัตถกรรมกระจูดวรรณี’

เป็นที่ยอมรับของตลาดมากขึ้น (ทายาท: นายมนัทพงค์ เซ่งฮวด)

The 3rd generation of the wicker family of ‘Na Kien Village’ has been applied their wicker product with ‘Nakorn’s niellowear’ from Na Khonsithamaraja to developed product for worldwide market. (Heir: Ms. Naparat Thongsepee)

เครื่องจักสาน - ย่านลิเภา

(Wicker - Inaneiepr Basketries)

ช่างจักสานย่านลิเภานครศรีธรรมราช ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลจักสานย่านลิเภาแห่ง‘บ้านนาเคียน’ ได้เพิ่มคุณค่าให้แก่ผลงานด้วยการผสมผสานงานเครื่องถมเมืองนครให้มีความหลากหลายจนเกิดศิลปหัตถกรรมเลื่องชื่อของปักษ์ใต้สู่สากล (ทายาท: นางสาวนภารัตน์ ทองเสภี)

Khid silk weaver in Nhong Bua Lamphu has developed a much complicate weaving technique than ordinary weaving technique. By acquiring 2 weavers and 45 Khid wooden sticks, Khid pattern then becomes glossier, more polished, more beautifully embossed, and dimensional (Hier: Natapol Nantasutha)

ช่างทอผ้า – ผ้าขิดไหม (Weaver - Khid Silk) ช่างทอผ้าขิดไหมหนองบัวลำภู ได้ต่อยอดงานด้วยเทคนิคการทอที่ซับซ้อนกว่าการทอผ้าธรรมดา โดยการเพิ่มการทอ 2 คน ใช้ไม้ขิด 45 ไม้ ทำให้ลวดลายขิดที่มีความมัน วาว เหลือบ ลายนูนที่สวยงามและมีมิติยิ่งขึ้น (ทายาท: นายณัฐพลนันทะสุธา)

Na Pho silk weaver of Buriram has inherited his ancestor’s wisdom. His work becomes the popular Hangkrarok silk and won an award from the Silk Contest at Phu Phan Ratchaniwet palace (Heir: Mrs. Kamtieng Tiamtanong)

ช่างทอผ้า – ผ้าไหมนาโพธิ์ (Weaver - Na Pho silk) ช่างทอผ้าไหมนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ สืบสานงานช่างทอและภูมิปัญญาการทอผ้าไหมแห่งอำเภอนาโพธิ์ กลายเป็นผ้าไหมหางกระรอกที่ได้รับความนิยม และได้รับรางวัลจากการประกวดผ้าไหม ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ (ทายาท: นางคำเตียง เทียมทะนงค์)

Praewa silk weaver of Kalasin inherits the art of Praewa silk weaving style, which is Phutai’s identity. Traditional design is conserved, while creating new pattern and template make the uniformity of weaving structure in every single piece (Heir: Mrs. Ubolrat Chapa)

ทอผ้า - ผ้าไหมแพรวา (Weaver - Praewa Silk) ช่างทอผ้าไหมแพรวา จังหวัดกาฬสินธุ์ สืบทอดศิลปะการทอผ้าแพรวา อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไท โดยรักษาลวดลายดั้งเดิม แต่คิดค้นลายผ้าไหมใหม่ และวิธีการทำแม่แบบลายผ้า ช่วยให้การทอเป็นแบบเดียวกันอย่างเป็นระบบตลอดทั้งผืน (ทายาท: นางอุบลรัตน์ ชาพา)

Folk goldsmith of Phan Thong District, Chon Buri province was trained to make traditional gold work with traditional gold pattern, and creates contemporary and elegant gold pattern (Heir: Mr. Piyanat Rungsithong)

ช่างทองโบราณ (Folk Goldsmith) ช่างทองโบราณ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ได้รับการถ่ายทอดและฝึกปรือฝีมือการทำทองโบราณ พร้อมลวดลายการทำงานของช่างโบราณ และประยุกต์ปรับแบบลวดลายให้มีความร่วมสมัยพร้อมคิดค้นลวดลายใหม่ๆ ที่มีความวิจิตร (ทายาท: นายปิยะณัฐ รุ่งสีทอง)

Puzzle mechanic Ring Goldsmith inherits and creates a special characteristic work of his clan: 4 mechanic crossed rings, which will become one ring after take it of. To make the ring interesting and outstanding, gem is exquisitely embedded on top of it (Heir: Mr. Montri Bhumbhak)

Andaz Amsterdam Prinsengracht Hotel by Marcel Wanders ช่างทองแหวนกลไกปริศนา สืบทอดและสร้างสรรค์ลักษณะพิเศษเฉพาะของตระกูล ซึ่งเป็นแหวน 4 วงที่ถักร้อยเป็นกลไกไขว้กัน เมื่อถอดออกจากนิ้ว กลับกลายเป็นแหวนวงเดียว เสริมความน่าสนใจในชิ้นงานให้โดดเด่นและทรงคุณค่าด้วยการฝังพลอยลงบนหัวแหวนอย่างประณีต

(ทายาท: นายมนตรี ภูมิภักดิ์)

‘Benjarong painter, a Thai’s porcelain painter of Samut Songkhram province has been trained to paint the craft from generation to generation. The work is developed and available in types of product like restoring Vichayentara Pattern on five colors porcelain jar using color technique to create new shades of color, and using18-20% quality gold mixed with liquid gold (Heir: Mrs. Saranya Saisiri)

เขียนลายเครื่องเบญจรงค์ (Benjarong Porcelain Painter) ช่างเขียนลายเครื่องเบญจรงค์ จังหวัดสมุทรสงครามกับวิชาเขียนลายเครื่องเบญจรงค์ที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ได้พัฒนาต่อยอดให้ร่วมสมัยด้วยรูปแบบผลิตภัณฑ์ การฟื้นฟูลายวิชเยนทร์จาก โถเบญจรงค์ ด้วยเทคนิคการใช้สีให้เกิดเฉดสีใหม่ และการใช้นำทองคุณภาพผสมทองคำ18-20% (ทายาท: นางสรัญญา สายศิริ)

The Thai traditional handicraft ‘Making Decorative Carving Out of Banana Skin’ has been applied and developed from ‘Kru Prasom Susuthi’ with the specialist high skills majors. The Maker must be carefully to carve beautifully banana plant (skin) in short time. (Heir : Mr. Wiriya Susuthi)

ศิลปหัตถกรรมการแทงหยวก (Making Decorative Carving - Out of Banana Skin) การแทงหยวกเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ต้องอาศัยความชำนาญในการสลักเสลาลายไทยลงบนหยวกกล้วย การผูกลวดลายให้งดงามต้องใช้ความชำนาญและทักษะขั้นสูง เนื่องจากไม่มีการ ร่างแบบก่อน และต้องใช้ระยะเวลาอันสั้น ช่างศิลป์ชาวเพชรบุรีสืบทอดวิชาโบราณมาจาก‘ครูประสม สุสุทธิ’ พร้อมประยุกต์ลวดลายปูนปั้นให้เป็นลวดลายใหม่งดงาม (ทายาท: นายวิริยะ สุสุทธิ)

Source: VOL 03 ISSUE 02 APR / MAY 2014


Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page