top of page

Design Inspiring Node

A PEACEFUL AND SERENE ESCAPE FROM THE NOISE OF OUTSIDE WORLD, ‘SUANMOKKH BANGKOK’


One of the benefits of living in a big city is that you can find a place to relax and calm your mind after a long week of hard work. In the past most Buddhists would think of a ‘temple’, but today many religious places have repositioned themselves to get closer with people and one of them that we will talk about is ‘Buddhadasa Indapanno Archives’ or also known as ‘SuanMokkh Bangkok’

‘SuanMokkh Bangkok’, a modern exposed concrete building at the northern end of Suan Wachira Benchathat Park (Suan Rod Fai) adjacent to a large pond, was opened in 2010 as a Buddhist spiritual cultivation and edutainment center to help people attain Nirvana. It is built for collect, maintain and set up a database for original written works by Buddhadasa Bhikkhu and also a public place where people can visit for free and spend time to learn meditation and take their minds off their problems.

If you have a chance to visit ‘Suanmokkh Bangkok’, maybe you hope to have a place like this near your office because when you are depressed or stressed, you can go to a place where you can close your eyes and control your breath to calm your mind. The ground floor is designed to be an open court with small corners to sit and enjoy cool breeze on the ground. Do not be surprised if you come here and see many people sit in quiet corners and in the trance state. This area is called ‘Larn Rim SaNaligae’ and what you need to do is to be quiet and calm to respect the place and others.

Opposite ‘Larn Rim Sa Naligae’ is ‘Larn Hin Kong’. It is a large semi-circular open court for the practice of Dharma. The front wall of the court is decorated with low relief carved-stones depicting the life of the lord Buddha and in the middle of the panels is situated a statue of Avalokiteshvara Bodhisattva. This mutipurpose court is used for Dharma presentation, special Buddhism ceremony, Buddhist Prayer Chanting including special activities.

On the second floor there is plenty of space for putting your mind and body at ease. It is

composed of ‘A Taste of Nibbana (Nirvana)’ exhibition room, dharma practice room and Paticcasmuppada Garden. Photographs are displayed through the hallway and there are also beautiful white Buddha statues situated in the center hall. In the evening we will see people perform the evening prayer in this area. If you are not in a hurry, you can attend the prayer session as well. On the third floor there is a meeting room, archive room, office and research center. If you would like to visit here in a group, you can contact the officers to provide you with special services such as a toured guide. For more information, please visit www.bia.or.th.

If you need a little bit of tranquility in a greenery place in a big city, you may probably fall in love with this place. It is a place that can attract ‘people who are away from religion’, like many of us to experience peace and joy in another way which doesn’t focus on religious ceremonies or commercialized Buddhism like many other places we have known.

มุมสงบที่สวนโมกข์ กรุงเทพฯ

ความโชคดีอย่างหนึ่งของการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ คือต่อให้วันทั้งวันของการทำงานต้องเจอกับความ ‘เยอะ’ ของผู้คนและสรรพสิ่งมากขนาดไหน พอหมดวันหรือสิ้นสุดสัปดาห์ ก็ยังพอมีสถานที่พักใจให้ได้หลบเข้าไปบำบัดตัวเอง สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้วเมื่อก่อนคุณอาจจะนึกถึง ‘วัด’ แต่ทุกวันนี้ศาสนสถานหลายแห่งได้วางตัวเองใหม่ให้ใกล้ชิดกับผู้คนมากขึ้น และหนึ่งในสถานที่ที่อดจะเอ่ยถึงไม่ได้ก็คือ ‘หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ’ หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในนาม ‘สวนโมกข์ กรุงเทพฯ’

อาคารปูนเปลือยริมบึงน้ำสาธารณะในมุมหนึ่งของสวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ เป็นที่รู้จักของผู้คนที่นิยมแสวงหาความสงบมาตั้งแต่ปี 2553 แม้จุดมุ่งหมายหลักจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นหอจดหมายเหตุศาสนธรรม

(Religious Archives) ภายใต้มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และสถานบริการด้านศาสนธรรม สืบสานงานพระพุทธศาสนา รวมถึงทำหน้าที่เป็นที่รวบรวม ดูแล รักษา และจัดระบบบริการสืบค้นมรดกธรรม เอกสารข้อเขียนต้นฉบับต่างๆ ของพุทธทาสภิกขุแล้ว พุทธศาสนิกชน รวมถึงผู้คนที่สนใจซึ่งผ่านไปมาก็ยังสามารถแวะพักใจในมุมสงบได้ในแบบที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

หากคุณมีโอกาสได้มาเยือน ‘สวนโมกข์ กรุงเทพฯ’ สักครั้ง บางทีคุณอาจหวังให้มีสถานที่แบบนี้อยู่ใกล้สำนักงานอาคารสูงของคุณบ้างก็เป็นได้ ด้วยว่าเมื่อใดที่หดหู่ใจจากการงาน ประชุมเครียด เจ้านายบ่น คุณจะได้เดินลงมาหามุมสงบ หลับตา สำรวจลมหายใจ เพื่อทำให้ใจร่มขึ้น ชั้นล่างของอาคาร ‘หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ’ แห่งนี้นั้น ออกแบบมาให้เปิดโล่งและมีมุมเล็กๆ ให้ได้นั่งรับลมเย็นๆ ซึ่งหอบเอาความชุ่มฉ่ำมาจากสวนเขียวภายในสวนรถไฟพอให้ได้รื่นรมย์ อย่าแปลกใจหากมาเยือนที่นี่แล้ว คุณจะได้เห็นหลายคนนั่งอยู่ในมุมสงบและอยู่ในภวังค์แห่งสมาธิ บริเวณนี้เรียกว่า ‘ลานริมสระนาฬิเก’ สิ่งที่คุณพึงกระทำคืองดการใช้เสียง และอยู่ในอาการสำรวมเพื่อให้เกียรติสถานที่ รวมถึงบุคคลอื่นในที่สาธารณะ

บริเวณชั้นล่างที่อยู่อีกฟากกับลานริมสระนาฬิเกภายนอกตัวอาคารเป็นพื้นที่เปิดโล่งที่เรียกว่า ‘ลานหินโค้ง (Larn Hin Kong)’ บริเวณนี้มีลานหินปุ่มสำหรับเดินสำรวจใจหรือเดินจงกรม เรียกว่าเป็นปริศนาธรรมอีกอย่างหนึ่งที่รังสรรค์ไว้ในสถานที่นี้ ส่วนกำแพงผนังด้านข้างมีรูปปั้นของพระอวโลกิเตศวร รวมถึงประติมากรรมนูนต่ำอันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ในโอกาสสำคัญทางพุทธศาสนาบริเวณเดียวกันนี้จะถูกใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสำคัญทางศาสนา รวมถึงสวดมนต์ทำวัตร นอกจากนี้หากมีกิจกรรมพิเศษ บริเวณนี้ก็จะถูกใช้เป็นลานกิจกรรมด้วยเช่นกัน

บริเวณชั้น 2 ของอาคารมีพื้นที่ที่สงบมากยิ่งขึ้นอีกหลายส่วน สวนสวยภายนอกอาคารมีชื่อเรียกว่า

‘สวนปฏิจสมุปบาท (Paticcasmuppada)’ อาจถูกใช้เป็นมุมสงบของหลายคนในการอ่านหนังสือ รวมถึงรื่นรมย์กับทิวทัศน์ของพระอาทิตย์ยามอัสดง บริเวณใกล้เคียงกันมีห้องจัดนิทรรศการ ‘ห้องนิทรรศการ นิพพานชิมลอง (A Taste of Nibbana)’ ซึ่งสามารถเข้าไปเยี่ยมชม รวมถึงใช้บริการอีกห้องหนึ่งซึ่งสงบเงียบที่สุดสำหรับฝึกสมาธิ บริเวณโถงทางเดินของอาคารจัดแสดงภาพถ่าย ส่วนโถงกลางของอาคารเปิดโล่งและเป็นที่ประดิษฐสถานของพระพุทธรูปขาวงามสง่า ยามเย็นเราอาจมีโอกาสได้เห็นพุทธศาสนิกชนทำวัตรเย็นกันบริเวณนี้ หากไม่เร่งร้อนคุณอาจสวดมนต์ไหว้พระบริเวณนี้ร่วมด้วยก็ได้ สำหรับอีกบริเวณหนึ่งในชั้นเดียวกันเป็นห้องปฏิบัติธรรมและประชุมสัมมนา ส่วนชั้น 3 ของอาคารจะเป็นสำนักงาน ห้องค้นคว้า และห้องประชุม ในกรณีที่ต้องการค้นคว้าหรือเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ ก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เป็นกรณีพิเศษได้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและให้ข้อมูล หรือเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ www.bia.or.th

จะว่าไปแล้วถ้าคุณปรารถนาการได้พบความสงบในมุมร่มรื่นภายใต้เมืองใหญ่บ้าง คุณอาจจะโปรดปรานสถานที่แห่งนี้มากเป็นพิเศษ และอันที่จริงหากจะว่าไปแล้วที่นี่อาจจะเป็นกุศโลบายหนึ่งที่ดึงดูดให้ผู้ที่ ‘หัวใจห่างไกลศาสนา’ อย่างเราหลายคนในที่นี้ ได้เข้ามาสัมผัสความสงบรื่นรมย์อีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้สำคัญที่พิธีกรรมหรือความเป็นพุทธพาณิชย์ เหมือนอีกหลายสถานที่ที่เราได้พบเจอก็เป็นได้

Source: Vol. 03 Issue 06 MAR 2015


Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page