DESIGN & PRESENTATION AS ZEN
Every piece of Art & Design is created based on many restrictions, including budget, market, and art theory. However, we all know that art can be anything that has beauty, but in our present day it seems that art is divided into one of two groups: art that ‘sells’ and art that ‘doesn’t sell’.
I just read ‘Presentation Zen Design’ by Garr Reynolds, a book that talks about adapting the teaching of Zen to design and presentation that are based on the theory of simple and natural designs focused on Contruction, Free Form, Element, Space, Simplicity, and the Focus Point. The most interresting thing about this book was its presentation of the 10 Ideas of Zen that can inspire artists to create a new style.
Now, I would like to introduce 10 thoughts of original zen art that can be found in Japanese garden design and other Japanese works of art. These may motivate you to create some outstanding work.
1. Kanso: This concept involves getting rid of the unnecessary parts of a design and focusing on only the necessary.
2. Fukinsei: This concept involves focusing on asymmetrical balance and making sure that the work follows suit.
3. Shibui / Shibumi: This concept concerns beauty that is both natural and inspired by nature, lacking any pretensions and instead focusing on things that are spontaneous. 4. Shizen: The true beauty of nature can create something that is not obvious and that lacks any control. 5. Yugen: The complex symbolic components work together to create a meaning without overly explaining anything. 6. Dutsuzoku: This concept focuses on avoiding the things that are common and part of our usual way of doing things, of finding a new path. 7. Seijaku: The power of peace that keeps us both relaxed and welcoming to new things. 8. Wa: Unity and Harmony: the basic ideas of Japanese culture and the desired state of all of humanity. 9. Ma: A movement that is created by arranging objects withing the confines of time and space to focus the work on movement. 10. Yohaku-no-bi: The implication of the idea that “less is more” through the simple use of open space.
Overall, I would say that we can inject the theory of Zen into our designs by creating harmonious works of art that can inspire artists to reach out to new and unknown horizons in search a greater understanding of the meaning of art.
เรื่องของการออกแบบและนำเสนออย่างเซน
ในทุกๆ งานออกแบบ นักออกแบบจะออกแบบงานดีไซน์ของพวกเขาบนพื้นฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งเรื่องของงบประมาณ กลุ่มเป้าหมาย หรือแม้กระทั่งทฤษฏีศิลปะ เรามักเคยได้ยินว่าในงานออกแบบนั้น ไม่มีถูก หรือผิด มีแค่สวย และไม่สวย ในยุคนี้งานศิลปะในเชิงพาณิชย์จะใช้คำว่า ‘ขาย’ หรือ ‘ไม่ขาย’
ผู้เขียนเองได้มีโอกาสอ่านหนังสือ พรีเซนเทชั่น เซน ดีไซน์ (Presentation Zen Design) ซึ่งเขียนโดย การ์ เรย์โนลด์ส (Garr Reynolds) ที่ว่าถึงการนำหลักคำสอนแบบเซนมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบและการนำเสนอ โดยใช้หลักแนวคิดพื้นฐานแบบเซนนั่นคือ การจำกัด ความเรียบง่าย และความเป็นธรรมชาติในการถ่ายทอดผ่านส่วนประกอบหลักต่างๆ ที่ปกตินักออกแบบจะคำนึงถึงอยู่แล้ว เช่น โครงสร้างและอิสรภาพ, องค์ประกอบ, พื้นที่ว่าง, ความเรียบง่าย และจุดเป้าหมาย โดยมีการเขียนไว้ได้น่าสนใจจนอยากจะหยิบยกแนวคิดบางอย่างมาอ้างถึงเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์การนำเสนองานรูปแบบใหม่ๆ บ้าง โดยใช้แนวคิด 10 อย่างตามวิถีเซน
ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับ 10 แนวคิดสุนทรียศาสตร์แบบดั้งเดิมของเซนที่มักพบในงานศิลปะแห่งการจัดสวนญี่ปุ่นและศิลปะรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อช่วยกระตุ้นในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ และเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบที่โดดเด่น ได้แก่
1. คันโซ (Kanso) ความเรียบง่ายที่ตัดความยุ่งเหยิงหรือสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป แสดงสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีที่แสนธรรมดา และเป็นธรรมชาติ 2. ฟูคินเซ (Fukinsei) ความไม่สมมาตร แนวคิดที่แสดงถึงการควบคุมความสมดุลของการจัดวางที่ไม่สมมาตรแต่สมดุลกัน 3. ชิบูอิ / ชิบูมิ (Shibui / Shibumi) ความสวยที่ไม่แสดงออก หรือสิ่งที่บ่งบอกอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องขยายความ เป็นความเรียบง่ายที่สง่างามในตัวเอง 4. ชิเซน (Shizen) ความเป็นธรรมชาติที่ไม่โอ้อวดหรือปลอมแปลง ซึ่งเป็นลักษณะการออกแบบจัดสวนญี่ปุ่น ที่รู้สึกได้ว่าเป็นธรรมชาติแต่ถูกออกแบบอย่างมุ่งหมายเอาไว้ 5. ยูเจน (Yugen) การรวบรวมความซับซ้อนและส่วนประกอบเชิงสัญลักษณ์ ที่สร้างความเข้าใจอันลึกซึ้งหรือแนะนำมากกว่าการเปิดเผยทั้งหมด 6. ดัทซูซกุ (Dutsuzoku) การสวนกระแส หรือปลดปล่อยจากอิสระของความเคยชินทั้งหลาย สร้างความรู้สึกประหลาดใจให้เกิดขึ้นในแต่ละมุมมอง 7. เซจากุ (Seijaku) ความเงียบสงบอันทรงพลัง ความนิ่ง และโดดเดี่ยว สิ่งที่แสดงออกซึ่งความสงบที่ตื่นตัว 8. วา (Wa) ความกลมกลืนหรือความสมดุล ซึ่งเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นและความสัมพันธ์ของมนุษย์ 9. มา (Ma) ช่องว่างระหว่างพื้นที่หรือเวลา ซึ่งหมายถึงความว่างเปล่าที่ถูกจัดวางให้เป็นจุดสนใจในพื้นที่ เกิดเป็นพลังหรือความเคลื่อนไหวในงานออกแบบ 10. โยฮะกุ-โนะ-บิ (Yohaku-no-bi) การชื่นชมความงามที่เป็นนัยยะหรือที่ว่า ‘Less is more’ เน้นในสิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เป็นการแสดงสัดส่วนของพื้นที่ ซึ่งหมายถึง ‘ความงามของที่ว่างอันพิเศษ’
กล่าวโดยสรุปก็คือ หากเราสามารถเชื่อมโยงแนวคิดและหลักการในการออกแบบดังกล่าวเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนและเป็นธรรมชาติได้มากที่สุด จะทำให้คุณสามารถนำเสนอไอเดียของคุณให้แตกต่างและทรงพลังมากยิ่งขึ้น
Source: Vol. 03 Issue 06 MAR 2015