top of page

Design Inspiring Node

LIVING GREEN DESIGN


Zero Energy Building Singapore

‘Green Building’ is a concept that design idea and energy conservation idea are perfectly amalgamated. Members of ASEAN assented to this idea and cooperate to perform pleasantness among them.

Zero Energy Building in Singapore was designed and constructed with the ‘Green Building’ idea. An old 3-storey school building: occupying 4,500 square meters, was renovated to serve as exhibition room, classroom, and office. The initial objective was to reduce energy consumption, which is always an important part of Singapore’s development plan. It can save 2 millions baht on electricity spending a year.

Design Tips . Install solar panel on top of the roof, on sun shade, and on glass wall. . Resist solar heat gain by using Low-E glass: glass with solar radiation reflecting substance coating. . Install Photoelectric sensor to control electricity switch according to light intensity. . Install light shelf with 500-700 mm. height on the upper part of the window. The shelf will reflect sun light to the ceiling which serves as an interior light tube providing bright natural light, and also resist the glare sun light. . Ventilate without active cooling system via thermal chimney. Install a double wall with open inlet at its lower part and open-end tube on top of the roof. Air in the wall gap becomes hotter from sun light and floats up to the top of the open-end tube while cool ai

‘อาคารเขียว’ หรือ ‘Green Building’ เป็นแนวคิดผสานแนวคิดเรื่องการออกแบบกับการอนุรักษ์พลังเข้ามารวมกันไว้ได้อย่างลงตัว หลายประเทศในอาเซียนอ้าแขนรับแนวคิดนี้และจับมือกันเพื่อสร้างโลกรื่นรมย์ให้กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้น

Zero Energy Building ในสิงคโปร์ออกแบบและสร้างขึ้นตามแนวคิด ‘อาคารเขียว’ โดยดัดแปลงอาคารเรียนเก่าสูง 3 ชั้น ในพื้นที่ก่อสร้าง4,500 ตร.ม. ปรับปรุงเป็นห้องนิทรรศการ ห้องเรียนและสำนักงาน ซึ่งวางเป้าหมายแรกเริ่มว่าจะเป็นอาคารที่ลดการใช้พลังงานและสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง ประมาณ 2 ล้านบาทต่อปีซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาที่สิงคโปร์ให้ความสำคัญเสมอมา

Design Tips . ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้บริเวณหลังคา แผงบังแดด และผนังกระจก . ป้องกันความร้อนจากภายนอกโดยใช้กระจกโลว์อี (Low-E) ซึ่งเป็นกระจกที่เคลือบสารสะท้อนรังสีความร้อนได้ . ใช้ระบบโฟโตอีเล็กติกควบคุมสวิตซ์เปิดปิดไฟฟ้าตามปริมาณความเข้มของแสงสว่างที่เข้ามา . ทำแผงยื่นด้านหน้าอยู่ใต้ขอบหน้าต่างด้านบนสูงประมาณ 500-700 มม. ซึ่งจะทำหน้าที่สะท้อนแสงขึ้นไปที่ส่วนฝ้าเพดานที่ทำเป็นช่องแสงภายในทำให้สว่างเหมือนเปิดไฟแต่ให้แสงธรรมชาติพร้อมกันแดด . ระบายอากาศด้วยอากาศร้อนที่ไม่ใช้เครื่องกล โดยสร้างปล่องที่หลังคาทำให้ปล่องร้อนด้วยแสงแดด แล้วอากาศเย็นจากภายนอกด้านล่างจะไหลเข้ามาทดแทนบริเวณช่องระหว่างผนังที่ทำเป็นผนังสองชั้น อากาศนี้จะช่วยระบายความร้อนในผนังออกไป

Farming Kindergarten Vietnam

Farming Kindergarten in Dong Nai, Vietnam is one of ASEAN buildings which was designed with sustainable energy idea according to the Green Building principle. It is a 2-storey with tripple-ring shape building, designed by Vo Trong Nghia Architects. On the rooftop, there are vegetable beds for children to have natural way experience along with sustainable energy learning.

Design Tips

. The rooftop of school building was designed in tripple-ring shape. It increases green area as vegetable beds and garden which helps resist heat transfer to the building, increase space utilization, and promote natural way learning of children.

. The triple-ring shape building provides 3 safe and convenient playground courtyards and eco-friendly green within a comfortable green area.

In the future, ASEAN members are inevitable to link and share their natural resources, and to cooperate on the best sustainable energy and resources consumption. We expect ‘Green Building’ design idea will be widespread all over ASEAN members.

Farming Kindergarten โรงเรียนอนุบาลในจังหวัดดองไนของเวียดนาม เป็นอีกหนึ่งอาคารในอาเซียนที่มีแนวคิดอนุรักษ์พลังงานโดยใช้หลักการของอาคารเขียว ซึ่งเป็นอาคารรูปทรงเกลียวสูง 2 ชั้น ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกชื่อ Vo Trong Nghia พร้อมเนรมิตดาดฟ้าให้เป็นแปลงผักให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิถีธรรมชาติกับการอนุรักษ์พลังงานไปพร้อมกัน

Design Tips . หลังคาของอาคารเรียนออกแบบเป็นรูปทรงเกลียว 2 ชั้น โดยดาดฟ้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นแปลงผัก และสวนเกษตรเพื่อลดการดูดซับความร้อนของตัวอาคาร ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวิถีธรรมชาติ

. ตัวอาคารออกแบบให้โปร่งโล่ง และโอบล้อม 3 สนามเด็กเล่น ที่สะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้พื้นที่สีเขียวที่เย็นตาเย็นใจ

. ในอนาคตของอาเซียนนั้นนอกจากจะเชื่อมโยงกันเพื่อใช้ทรัพยากรแล้ว ยังมีความร่วมมือร่วมกันที่ว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ได้แต่หวังว่าแนวคิดเรื่องการออกแบบ ‘อาคารเขียว’ แบบนี้จะแพร่หลายมากขึ้นในทุกประเทศอาเซียน

Source: VOL 03 ISSUE 02 APR / MAY 2014

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page