top of page

Design Inspiring Node

SCENIC DESIGN


When audience and theatre producer seeing the show, however the aspects and enjoyments are not quite the same. I have no longer enjoyed the premier show as much as especially when I am a part of a production. When I can not cook, I never care what the chef put the ingredients into or how to cookit it. Soon as I learn to cook, everytime when eating I can differentiate the ingredients, the techniques and can focus on your taste buds. As the same when I see the show, many times my eyes catch every detail of its visual till I ignoring my ears if not a stage play or a concert.But the show like Cirque du Soleil is an exception, it’s ok to use your eyes more than ears (excluding of “The Immortal and The Beatles LOVE”). But for the stage play if you use your eyes more than ears you might need to see it again.

For production design, scenic design, production design or stage design as we simply the shows as visual language. I was not so excited with the high technology or the high budget screen such as U2; 360 Degree Concert with the gigantic LED panel with stretching spider. If not U2 concert but anyone or William (the top 5 English name by Today’s Parent ranking record) I would consider it such a waste of money.

I prefer the show that uses more creativity than budget. In Thailand, some concerts by famous artists not just spend lots of money but focus more on creativities such as a design to solve a problem, like in Body-slam Concert which using paper tubes installation that not look cheap but also solve the echo problem in Impact Arena’s Exhibition Hall. These tubes use as an enclosure for the audiences as part of the show. Another example is "Bie’s Concert; love to not afraid, afraid to not love", use the plastic sheets installation to create double personalities of artist metaphorically represent by the front and the back of plastic sheets using different visual effects to communicate with the audience by not focusing on use of technologies. This is something I find very interesting.

When we talk about the uses of skills more than technologies, then we talk about the stageplay. From my researches when I studied in UK,I admired many scenic designers. Maria Bjornson is the one whom you can see her work in Thailand very soon, even though she passed away. The Phantom of the Opera, her chandelier keeps on falling every night almost 30 years and still continues to impress her audience around the world. People know her legendary work such as “The Phantom of the Opera” or “Aspects of Love” but she left behind with more interesting works both in ballet and opera (both in costume and stage design). All her “Timeless visual” works are very creative and yet skillful, even in a paint technique only (as in “Sleeping Beauty”), not much on spending crazy budget or technologies. Same as in a style of Ralph Koltai, her Professor at London’s Central School of Art and Design (Later know as Central Saint Martins College of Arts and Design)

Let’s experience this if you have a chance.

ปิดหู ดูโชว์

“ผมกลับชื่นชอบงานสร้างที่ไม่ให้น้ำหนักกับเงิน แต่ให้น้ำหนักกับการคิดมากกว่า”

คนดูละครเวทีกับคนทำละครเวที เมื่อตีตั๋วเดินมานั่งเก้าอี้ข้างๆ กันเพื่อทำหน้าที่คนดู ถึงแม้ทั้งคู่จะได้รับความสุขกลับบ้านไปไม่ต่างกัน แต่การเสพความสนุกจากละครอาจไม่เหมือนกัน ไม่อยากจะบอกว่าผมไม่เคยสนุกกับการดูละครเวทีได้อีกเลย (ในการดูรอบแรก) ยิ่งถ้าได้ทำหรือมีส่วนร่วมในโปรดักชั่นนั้นๆ ด้วยแล้วละก็อย่าได้หวังเลยครับ สมัยก่อน ที่ผมจะเข้าครัวทำอาหารเป็นนี่ เวลาทานอาหารไม่เคยสนใจหรอกว่าพ่อครัวแม่ครัวจะโยนอะไรใส่ คลุกเคล้าเร้ารสอย่างไร แต่หลังจากเริ่มทำอาหารเป็นกับเค้าบ้าง เวลารับประทานอะไรก็เริ่มมีสมาธิกับการแยกมวลสารจากรสลิ้นที่รับรู้ว่าเป็นรสของอะไร ปรุงอย่างไร เฉกเช่นการเสพมหรสพหรือโชว์ใดๆ ในทุกวันนี้ ที่หลายๆ ครั้งพลั้งเผลอใช้ดวงตาเพื่อเก็บรายละเอียดของภาษาภาพจนละเลยการใช้หู นี่ถ้าไม่ใช่ละครเวทีหรือคอนเสิร์ต แต่เป็นโชว์อย่างเซิร์ค (Cirque du Soleil) การใช้ตามากกว่าหูก็พอจะรับได้เพราะถ้าให้พูดว่าแต่ละโชว์ของเซิร์คใช้ภาษาภาพนำ (ไม่นับ The Immortal และ The Beatles LOVE) ก็คงไม่ผิดนัก แต่กับละครเวทีนี่ถ้าเผลอไผลใช้ตาเสพสิ่งที่เห็นเพลินๆ จนลืมใช้หูนี่ ต้องตีตั๋วกันอีกรอบเลยนะครับ

พูดถึง Production Design, Scenic Design หรือการออกแบบงานสร้าง การออกแบบฉาก หรือให้เข้าใจง่ายคือการพูดด้วย “ภาพ” ของโชว์ต่างๆ ที่ผมได้พบเห็นหรือไปดูมา ผมไม่รู้สึกตื่นเต้นเท่าไรกับการได้เห็นอภิมหาเทคโนโลยีราคาสูงมาสร้างเป็นฉาก ยกตัวอย่าง แมงมุมยักษ์แอลอีดีพาแนลยืดหดได้ในคอนเสิร์ตยูทู 360 ดีกรี นี่ถ้าไม่ใช่ยูทูแต่เป็นตาสีตาสา หรือนายวิลเลียมนามสมมุติ (เป็นชื่อติด 1 ใน 5 อันดับชื่อสุดโหลของฝรั่ง จากการเก็บข้อมูลของนิตยสาร Today’s Parent) ยืนร้องเพลงอยู่ละก็ผมเห็นว่ามันเป็นการตำน้ำพริกละลายสนามกีฬาเอามากๆ

ผมกลับชื่นชอบงานสร้างที่ไม่ให้น้ำหนักกับเงิน แต่ให้น้ำหนักกับการคิดมากกว่า ยกตัวอย่างคอนเสิร์ตในเมืองไทยที่คุ้นเคยกันก็ได้ครับ ที่บางคอนเสิร์ตศิลปินเองก็มีชื่อเสียงมากอยู่ แต่ผู้ผลิตไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาเทเม็ดเงินอย่างเดียว แต่ให้น้ำหนักกับการใช้ทักษะกลั่นงานออกมา เช่น การออกแบบที่เกิดจากการแก้ปัญหาคอนเสิร์ต บอดี้สแลม นั่งเล่น ที่ใช้ท่อกระดาษธรรมดาๆ ราคาถูก มาร้อยเรียงต่อกันเป็นภาพใหญ่ที่ไม่ได้ดูราคาถูก แต่เป็นการแก้ปัญหาเสียงสะท้อนของ Exhibition Hall ของ Impact ที่ไม่อำนวยนักกับการทำคอนเสิร์ต และจำนวนท่อมหาศาลที่อยู่รอบๆ Hall เหล่านี้ก็ถูกใช้ห่อพื้นที่ให้ผู้ชมผู้ฟังนั้นมีส่วนร่วมกับวงมากขึ้นเสมือนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือคอนเสิร์ตบี้ Love ไม่กลัว กลัวไม่ Love ที่นำเอาแผ่นพลาสติกมาร้อยเรียงต่อกันเป็นงานศิลปะที่สื่อถึงบุคลิก 2 บุคลิกของศิลปิน ในตัวเนื้อคอนเสิร์ตเปรียบเทียบบุคลิกแรกเป็นสิ่งที่คนดูเห็นด้านหน้าแผ่นพลาสติกเหล่านั้น แต่ด้านหลังของแผ่นพลาสติกเต็มไปด้วยเอฟเฟค ที่สื่อถึงอีกบุคลิกที่ซ่อนอยู่ เป็นการพูดด้วยภาพที่ไม่ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีอย่างเดียวในโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี เหล่านี้ต่างหากที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจ

ถ้าพูดถึงการใช้ทักษะมากกว่าเทคโนโลยีแล้ว ก็อดพูดถึงฝั่งละครเวทีไม่ได้ เท่าที่ผมตามค้นคว้าศึกษาสมัยเป็นวัยรุ่นร่ำเรียนอยู่ที่นู่น ผมยกย่องความสามารถของ Scenic Designer หลายๆ คน หนึ่งในนั้นคนไทยก็กำลังจะได้ชมผลงาน แม้ว่า Designer ผู้นั้นจะไม่อยู่แล้วก็ตาม ใช่ครับผมกำลังพูดถึง Maria Bjornson ผู้ล่วงลับกับ ผลงาน The Phantom of the Opera ที่แชนเดอร์เลียร์ของเธอร่วงแล้วร่วงอีก ร่วงลงสู่พื้นเวทีแทบทุกคืนมาเกือบๆ จะ 30 ปีแล้ว และก็ยังคงร่วงเพื่อสร้างความประทับใจให้คนทั่วโลกได้ชมกันต่อไป คนอาจรู้จักเธอจากงานที่มีชื่อเสียง เช่น The Phantom of the Opera หรือ Aspects of Love แต่เธอสร้างผลงานที่น่าสนใจไว้อีกมากมาย กับทั้งละคร บัลเล่ต์ และโอเปร่า (ทั้งออกแบบเครื่องแต่งกายและออกแบบฉาก) ซึ่งดูเหมือนงานต่างๆ ของเธอจะมี “ภาษาภาพที่เหนือกาลเวลา” แม้จะเป็นงาน Paint ล้วนๆ ก็ตาม (Sleeping Beauty) เหล่านี้เกิดจากทั้งทักษะการคิดและฝีมือล้วนๆ ไม่ได้ให้น้ำหนักกับเงินหรือเทคโนโลยีมากนัก ดูได้จากงานสมัยแรกๆ ของเธอหลายๆ ชิ้น สังเกตได้ว่าภาษาภาพที่อยู่เหนือกาลเวลานี้ ก็เป็นลักษณะเด่นของ Ralph Koltai อาจารย์ของเธอสมัยเธอเรียนที่ London’s Central School of Art and Design (ภายหลังเป็น Central Saint Martins College of Arts and Design) ถ้ามีโอกาสก็ลองไปเปิดประสบการณ์ชมกันนะครับ

Source:VOL 02 ISSUE 02 APR / MAY 2013

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page