top of page

Design Inspiring Node

GO GREEN


If Green Architecture was a computer game like Angry Bird then it would certainly be one of the most popular games across all platforms. Green Architecture has caught on as an important trend for many designers and architects in the last 10 years like never seen before. In the United States, it has been estimated that a sum of over 60 billion US dollars has been invested into green buildings since 1966. As a response to tackle the environmental impacts arising from building construction, emerged LEED – Leadership in Energy and Environmental Design.

The building construction industry is undoubtedly one of the largest sources of pollutants. Buildings not only require a large quantity of materials, but consume vast amounts of energy, release toxic wastes into the environment, and cause Urban Heat Islands. Furthermore is the embodied energy required to manufacture materials and the forests and natural resources consumed in the process. In the United States, studies have shown that up to 39% of pollution is caused by the building industry, and consumes 40% of the earth’s construction materials.

Interestingly, the reason our society has suddenly turned towards Green Building is so that they can be part of the trend, where designers now all claim credit to be building Green Architecture. In reality, just because a building has met LEED standards, it may not necessarily mean they have reduced the world’sgreen house gases. LEED has however, has become an important reference point which has dedicated emphasis on the human health and well being, as well and the well being and preservation of the environment.

Green Architecture began as a solution to reduce the emission of greenhouse gases and was established by the US-GBC and the UK-GBC. This later developed into the World GBC founded in 1999 in San Francisco with 8 participation nations. Different nations soon adopted and developed their own versions of a green building rating system that suited their local geography and climate conditions. Thailand developed TREE, and similarly Europe had MINERGIE Rating Certificate. LEED especially has emerged as the benchmark for green building design.

However, some green designs may not have the chance to get LEED certified due to conditions of the rating system and registration. Other ambiguous buildings on the other hand, can sometimes still get certified at a greater financial cost.

David Hertz, an architect, had noted that the LEED rating system is a very rigorous and complex process that comes at a high cost. Hertz himself had collected and reused airplane wings from 747 planes, incorporating them into his house in California. Although he had demonstrated the reuse of materials his building was not LEED certified.

Although the LEED rating system consists of many credits that are orientated towards engineering, architects should consider these items and make it a habit to design with these concepts mind. Other credits addressed in LEED should also form part of our design conscious such as passive solar design and selection of sustainable materials.

LEED = Leadership in Energy and Environmental Design developed by the Green Building Council (USGBC) as a standard for the rating the construction and operation of Green Buildings. The main objective is to encourage sustainable building to ensure a sustainable future. The credits covered in LEED are: 1. Sustainable Sites 2. Water Efficiency 3. Energy & Atmosphere 4. Materials & Resources 5. Indoor Environmental Quality

Roof gardens are an interesting architectural feature first thought by Le Corbusier in an attempt to utilize the roof in an efficient way. Today’s technology has helped us to design roof gardens more efficiently and has helped to reduce the Urban Heat Island Effect. Landscape architects have developed the concept further, turning the roof garden into a Landscape Playground and creating its own ecosystem. Another variation is the vertical green wall, an urban landscape feature developed by Patrick Blanc, which can also be seen at Paragon shopping mall. Many buildings use a selection of natural materials from regional areas which may not be as glamorous but can still meet its intended purpose as found in many schools across third world countries.

Residential projects have been another source of experimental measures of green design with minimal consumption of natural resource, known as ZEN. This concept aims to adjust the human behavior to co-exist with the natural environment that surrounds them. Various examples can be found in tropical climate countries such as Malaysia, Sri Lanka and Singapore. Malaysian architect Ken Yeang had the idea that if business and design could be integrated then anything is possible. Yeang would use extensive solar panels on his roof as a way to use the environment specifically to suit the building’s needs. His concept is an ecosystem without waste. Any waste created should be able to be reused, and all outputs, organic and inorganic, should be released slowly and be acceptable after analysis.

1 EIA Annual Energy Review 2005,US Energy InformationAdministration, Us Department of Energy.2 Smart market Trend Report, “McGraw-hill ConstructionAnalytics”

กว่าจะฝุ่นตลบ ถ้าเปรียบเรื่อง Green Architecture เป็นเกมส์ดังเช่น Angry Bird สำหรับคอเกมส์ ก็ต้องถือว่าเป็นเกมส์ดังที่มีผู้เล่นกันทั่วโลกทุกแพลตฟอร์ม เช่น เดียวกับสถาปัตยกรรมเขียว (Green Architecture) ที่เป็นกระแสสำคัญสำหรับสถาปนิกและ Designer อันเกี่ยวข้องกับงานออกแบบสถาปัตยกรรมในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาอย่างที่ไม่เคยมาก่อน ในประเทศอเมริกาต้นกำเนิดของหลักการนี้ และขณะเดียวกันก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน มีตัวเลขมูลค่าการลงทุนในการสร้างอาคารสีเขียว จนถึง ปัจจุบันเป็นมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้าน USD1 จากปี 2510 จวบจนปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวคงมากกว่านี้เป็นเท่าตั

และแล้วก็มี LEED – Leadership in Energy and Environmental Design

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมจัดการสภาพแวดล้อมและแสวงหามรรควิธี อันเป็นแนวทางลดปัญหาอันเนื่องจากผลของการก่อสร้างอาคารและเมืองที่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมอย่างรุนแรง ต้องยอมรับว่างาน

ถาปัตยกรรมนั้น เป็นฟันเฟืองสำคัญส่วนหนึ่งที่บริโภคทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองในการสร้างภาวะอันเป็นมลภาวะ ตัวอาคารเองเป็นมูลเหตุสำคัญกล่าวคือ อาคารทางสถาปัตยกรรม นอกจากจะใช้วัสดุมหาศาลในการก่อสร้างแล้ว ตัวอาคารยังบริโภคทั้งพลังงานมหาศาล ปล่อยของเสีย ทำให้เกิดภาวะ Urban Heat Island นี้ยังไม่นับรวมถึงการได้มาของวัสดุก่อสร้าง ที่ต้องบุกรุกป่าต้นน้ำ

เพื่อแสวงหาแหล่งแร่ธาตุ หรือ วัตถุดิบในการก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์ได้มาจากเขาทั้งลูก, สีได้จากเปิดผิวหน้าดิน, กระจกได้จากทรายและคอร์บอเนต)

ในสหรัฐอเมริกา มีข้อมูลว่า อาคารที่ก่อสร้างในสหรัฐอเมริกามีส่วนในการปล่อย CO2 ถึง 39% และขณะเดียวกันก็มีส่วนในการใช้วัสดุก่อสร้างถึง 40% ของวัสดุก่อสร้างทั้งโลก 2 สิ่งที่น่าสนใจคือ ในภาพรวมแล้วพลังงานและปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลงจริงหรือไม่ สำหรับสิ่งที่อาคารก่อให้เกิดมลภาวะไว้ การทำอาคารให้ได้ตามมาตรฐาน LEED อาจจะไม่ได้มีความหมายจริงจังนักในการลดมลภาวะเรื่องก๊าซเรือนกระจก

LEED + GREEN ARCHITECT

ในมาตรฐานของ USGBC แล้ว LEED เป็นคู่มือเปิดทางสู่การออกแบบ Green Architecture อย่างยั่งยืน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งแวด-ล้อมโดยเน้นศักยภาพภายในแนวคิดของสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

Green Architecture เริ่มแนวคิดจากความพยายามแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากภาวะเรือนกระจก ที่มีผลกระทบไปทั้งโลก โดยเริ่มนับหนึ่งจากการที่ US - GBC ร่วมกับ UK-GBC ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น WorldGBC โดยเริ่มเปิดตัวในปี 1999 ใน San Francisco โดยมีสมาชิก 8 ประเทศ

ประเทศต่างๆ ก็มีความพยายามในการที่จะสร้างมาตรฐานหลักเกณฑ์อาคารสีเขียวให้เหมาะสมกับภูมิภาคของตน เช่น ประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตราฐาน TREE สำหรับ ใช้เป็นมาตรฐานและมาตรฐานอื่นๆ เช่น MINERGIE Rating Certificate สำหรับภาคพื้นยุโรป

แนวคิดเรื่องอาคารเขียวเป็นความสำคัญระดับโลกมาตรฐานอาคารเขียวที่กำหนดโดย LEED นั้น เป็น ไม้บรรทัดเช่นเดียวกับ ISO ในทางปฎิบัติบางครั้งงาน Design ของสถาปนิกบางท่านอาจไม่ทำให้เข้าข่ายที่จะขึ้นทะเบียนสำหรับ LEED เนื่องจากข้อจำกัดของหัวข้อในการขึ้นทะเบียน และในทำนองเดียวกันก็จะมีงาน Design Concept ที่ดูคลุมเครือและเข้าข่ายอาคารเขียวใน LEED ระดับต้นๆ และแน่นอนอาคารเขียวเหล่านี้มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

มาตรฐานของ the GBC LEED เป็นสิ่งที่“เข้มงวดและยุ่งยาก” และแน่นอนว่ากระบวนการได้ Certificate เป็นอะไรที่ซับซ้อนและใช้ต้นทุนสูงHertz ได้ปรับปรุงวิธีการนำปีกเครื่องบิน 747 ที่ปลดประจำการมารวมกันเป็นอันหนี่งอันเดียวกันในบ้านใหม่ (California, USA) นี่เป็นการนำวัสดุมาใช้ใหม่วิธีหนึ่งแต่ก็ยังไม่ได้ Certificate จาก the GBC LEED Standards เนื้อหาของ LEED มีหลายหัวข้อที่ดูเป็นข้อกำหนดทางวิศวกรรม หากแต่สถาปนิกในฐานะ Main Designer ของอาคาร ให้ความสนใจโดยยึดถือเป็นข้อกำหนดและปฎิบัติเป็นนิสัย ข้อกำหนดเหล่านี้มีผลต่อการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม เช่น การให้แสงธรรมชาติภายในส่วนต่างๆ ของอาคาร หรือการเลือกใช้วัสดุ

LEED = Leadership in Energy and Environmental Design โดย US Green Building Council (US GBC) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการออก แบบ สร้างและใช้งานสำหรับ Green building มีวัตถุประสงค์หลักในการสนับสนุนมาตราการในการรังสรรค์การสร้างสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

- การพัฒนาพื้นที่ดิน (ดิน) Sustainable Site Development

- การดูแลและใส่ใจน้ำ (น้ำ) Water Saving

- พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ไฟ) Energy Efficiency

- การใช้วัสดุ (ทอง) Materials Selection

- คุณภาพมนุษย์สิ่งแวดล้อมภายใน (ลม) Indoor Environmental Quality

แล้วแนวทางอื่นๆ ล่ะ

นอกจากสถาปนิกแล้ว งานออกแบบจาก Landscape หลายท่านก็ได้นำเสนอแนวความคิดที่เป็นมุมมองของ Roof Garden ให้เป็น LandscapePlay Ground ขนาดใหญ่ เช่น American SocietyOf Landscape Architect โดยการปรับปรุงให้มีน้ำหนักเบาและระบายน้ำได้ดี โครงหลังคาและวัสดุปูสนับสนุนระบบนิเวศน์ขนาดเล็กบนหลังคาโดยการจำลองย่อส่วนธรรมชาติจริงขนาดใหญ่ลงม

หลายท่านก็ได้นำเสนอแนวความคิดที่เป็นมุมมองของ Roof Garden ให้เป็น Landscape Play Ground ขนาดใหญ่ เช่น American Society Of Landscape Architect โดยการปรับปรุงให้มีน้ำหนักเบาและระบายน้ำได้ดี โครงหลังคาและวัสดุปูสนับสนุนระบบนิเวศน์ขนาดเล็กบนหลังคาโดยการจำลองย่อส่วนธรรมชาติจริงขนาดใหญ่ลงมา

Patrick Blanc ผู้นำเสนอแนวคิดของสวนแนวตั้งที่ปรากฎในงาน Urban Landscape ต่างๆ รวมถึงส่วนของ Atrium ใน ห้าง Paragon กรุงเทพฯและได้จุดแนวคิดนี้และแพร่หลายทั่วโลก น่าแปลกใจที่เรายังไม่เห็นผลงานประเภทนี้ในงานระดับโลก มีนักออกแบบในสายงานอื่นๆ นำเสนอแนวคิดง่ายๆ แต่มีผลต่อจิตวิทยา กล่าวคือ ความพยายามทดลองใช้ Aromatherapy โดยเฉพาะกลิ่น ให้ล่องลอยในบรรยากาศ จึงให้ความรู้สึก “Sensation of Cooling” แทนการใช้อุณหภูมิในภาวะน่าสบาย ทั้งนี้รวมถึงแนวคิดอื่นๆ ในการเข้าถึงความรู้สึกของาคารการปรับภาวะทางกายภาพทั้งหมด เพิ่มตอบสนองต่อการรับรู้ทางอุณหภูมิ

มีงานสถาปัตยกรรมดีๆ หลายตัวที่ได้รับการพัฒนามาจากการใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นซึ่งอาจไม่ได้ดูหรูหราเหมือนงาน Iconic ทั้งหลาย แต่ก็ตอบโจทย์ได้ดี เช่นงานออกแบบโรงเรียนเพื่อชุมชน งานเหล่านี้มักปรากฎอยู่ตามเขตพัฒนาหรือประเทศโลกที่ 3 Zero Energy - มีงานบ้านพักอาศัยหรืองาน Experimental หลายชิ้นมีแนวคิดที่จะลดการบริโภคพลังงานจนถึงจุดต่ำสุด แนวคิด ZEN ดังกล่าวมุ่งในการใช้ปัญญาในการเข้าถึง ความพยายามที่จะปรับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ และลดภาระที่มีต่อระบบนิเวศน์ ดังที่ปรากฎในเขตภูมิภาคเขตร้อนชื้น แนวคิดนี้เป็นที่นิยมในประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร์ และศรีลังกา

แนวคิดดังกล่าวเผยการลดการบริโภคและ เข้าแก้ปัญหาเรื่องการบริโภค ซึ่งมีผลกับรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยตรง

มันถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ที่จะปฏิวัติเขียว => ทำลาย Architect = สถาปนิก = ผู้สถาปนา? มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีปัญญาในการปรับสิ่งรอบตัวให้สอดคล้องกับจริต ด้วยเหตุนี้จึงมีการมองว่าสมดุลทางธรรมชาติเริ่มผิดเพี้ยนไปผ่านการก่อสร้างและแน่นอนสถาปนิกเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการก่อสร้าง สถาปนิกมีอยู่ในหลายระดับของขบวนการตั้งแต่ นักคิด นักพัฒนา ในวงการวัสดุก่อสร้างควบคุมการก่อสร้าง ให้ความบันเทิง แนวคิด หรือความตระหนักของเราต่อสภาพแวดล้อม เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

อาคารเขียวไม่ได้บังคับให้แสดงสีของตัวอาคารถึงจะใช้สีหลากหลายถ้าต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบนิเวศน์ของอาคารนั้นๆ เหมาะสมเพียงพอหรือไม่ทั้งนี้มีเทคโนโลยีหลากหลายที่ช่วยให้สถาปนิกเลือกใช้วัสดุที่ถูกต้องทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Thermal Glass และ Photovoltaic cell

สถาปนิกชาวมาเลเชีย ชื่อ Ken Yeang ออกแบบพื้นที่ให้ตึกมีความเป็นจริง เช่น Mewah oils Headquarter ใน มาเลเชีย และ ตึก National Library ในสิงคโปร์ โดยมีแนวคิดว่าถ้าพวกเราบูรณาการธุรกิจกับการออกแบบเข้าด้วยกันทุกสิ่งเราก็จะสามารถทำได้ ในการสร้างสิ่งแวดล้อมของเราที่จะไม่พบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม Ken Yeang ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการใช้หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากวิธีการนี้เป็นวิธีการกลับสู่ธรรมชาติกับสถาปัตยกรรมเขียว ระบบนิเวศน์ที่ไม่มีของเสียจะเป็นระบบที่ทุกอย่างสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ฉะนั้นสิ่งต่างๆ ที่ถูกปลดปล่อยออกมาทั้งหมดในการสร้างต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกหนึ่งความคิดของ Ken Yeang ที่จะนำธรรมชาติสู่เมืองคือ การปลดปล่อยออกอย่างช้าๆ และสิ่งที่ออกมา ต้องเป็นที่ยอมรับในค่าผลวิเคราะห์ทั้งทางด้าน Organic และ In Organic

Designer Mathieu Lehanneur (ผู้ที่เคยชนะแบบประกวดสำหรับ Underground Fiber-optic Network ในนครปารีส) ได้นำเสนอแนวคิดของ Escale Numerique หรือ Digital Break ซึ่งถือว่าเป็น Street Furniture อัจฉริยะที่ประกอบไปด้วย WiFi สาธารณะและจอ Display ข้อมูลที่ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงกันได้ด้วยอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์ โดยสถานีดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น กลุ่มของเสาไม้ที่ Support หลังคา ที่มีการนำเสนอ Green Roof ภายใต้แนวคิดสวนลอยฟ้าและร่มเงาไม้ใหญ่ ที่มา:www.ecochunk.com

สถาปนิก Greg Broerman และ Obinna Elechi ได้นำเสนอความคิดในการนำพื้นที่สีเขียวขนาดเล็กสวนน้อยสำหรับพื้นที่ดังกล่าวเรียกว่า Mini Park ไว้เป็นส่วนหนึ่งของ Street Furniture ที่เป็นพื้นที่สีเขียวในขนาดที่เป็น Modular ขนาดเล็กที่เป็นพื้นที่สีเขียวด้วย ลักษณะการออกแบบที่เป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้สามารถใช้นั่งรอบริการรถสาธารณะที่มีร่มเงาและพื้นที่สีเขียวในลักษณะจำกัดและเคลื่อนย้ายได้สำหรับพื้นที่สาธารณะในเมือง ที่มา:www.ecochunk.com

Project : AL MEERA Community Mall AL Meera เป็นอาคารที่นำเสนอการใช้ร่มเงาของอาคารในแนวสูงและร่มเงาใต้อาคารเป็นขุมพลังเย็นเพื่อกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารโดยอุปมาทางเข้าจาก Form ของต้นปาล์ม เน้น Lighting สำหรับกิจกรรมยามค่ำคืน

แล้วสิงคโปร์ก็นำหน้าเราไปอีกช่วงโดยการนำเสนอVertical Farm แห่งแรกของโลกโดย Sky Greens Farms ซึ่งเป็นโครงสร้างเหล็กร้อยกันภายในอาคารที่เป็นแหล่งผลิตอาหารภายในเมืองโดยยึดหลักว่าอาหาร สามารถผลิตได้ด้วยทุกที่ไม่จำเป็นต้องผลิตจาก Farm นอกเมืองและขนส่งเข้าสู่ภายในเมือง ซึ่ง Farm ที่ว่า สามารถผลิตอาหารได้เป็นปริมาณถึง 1 ตัน ส่วนใหญ่เป็นผักสดซึ่งสามารถนำไปขายได้ใน Supermarket ใกล้ๆ เป็นการแก้ปัญหาทั้งเรื่องการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์เพิ่มพื้นที่สีเขียวลดภาวะเรือนกระจกการขนส่ง และมลภาวะ ที่มา:http://inhabitat.com

A-ture เป็นลักษณะของ Street Furniture ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาความร้อนสะสมในเมืองให้เกิดความ ร่มเย็นและชุ่มชื่นเพราะเจ้าม้านั่งสาธารณะรูปทรงร่มผสมต้นไม้นี้ช่วยให้เกิดความเย็นสบายในเมืองใหญ่ โดยการลดอุณหภูมิของบริเวณรอบๆ โดยหลักการของการระเหยของไอน้ำ ซึ่งเมื่อมีการระเหยหรือโดยหลักการ ก็คือการคายไอน้ำของใบไม้จะทำให้อุณหภูมิลดลงโดยปริยายเป็นหลักการธรรมชาติโดยไม่ได้ใช้พลังงาน กระแสไฟฟ้าโดยอาศัยหลักการธรรมชาติของการที่ต้นไม้คายไอ้น้ำจากใบสู่อากาศ กล่าวคือโครงสร้างร่มที่มี รูปร่างคล้ายใบไม้จะอาศัยแรงตึงผิว (Capillary) ที่จะทำให้น้ำที่เก็บสะสมไว้ที่บริเวณแกนกลางที่นั่ง (น้ำจะถูก เก็บรวบรวมจากความชื้นและฝน) ในส่วนใต้ใบจะเป็นโครงสร้างของรูพรุนแบบรวงผึ้งที่จะเป็นตัวกระจายการ คายน้ำสู่บรรยากาศในวันที่มีอากาศร้อน ที่มา:www.ecochunk.com

Source: VOL 02 ISSUE 01 FEB / MAR 2013

Fill your name, email and press subscribe

FOLLOW US
  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black Pinterest Icon
  • Black Instagram Icon
SEARCH BY TAGS
No tags yet.
FEATURED POSTS
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
ARCHIVE

 Fill your name, email and press subscribe

bottom of page