VEGETABLE GARDENS – THE EDIBLE FENCEสวนครัวรั้วกินได้
Landscape architect Khun Namchai Saensupha is often asked by many about vegetable gardens that have style. In response, he begins by noting vegetable gardens are not only common in Thailand, but all around the world and grown according to their local climate. Vegetables should be selected according to personal preference, size and suitability of your space and can be used as decoration on your fence or as a visual barrier.
The ‘Garden Fence’ or the ‘Edible Fence’ commonly found in Thailand usually consists of white popinac, acacias, kaffir lime, etc. Other examples such as creepers, winged beans, yard long beans, bitter cucumbers, long cucumbers etc have the advantage of not requiring a lot of space for growing. Instead of a solid concrete fence, a lush green wall on a chain link fence can be much more pleasing to the eye. Khun Namchai often imagined a city where everyone grew a green fence that offered the benefits of cleaner air, pleasant views and lower stress levels.
A common misconception is that vegetablesrequire a lot of open space to grow when infact; they can be grown on vertical walls asdone by French botanist Patrick Blanc, or onthe roof as seen in the Landscape Faculty atKasetsart University. Important factors tonote are that vegetables are annual crops,which will require maintenance and care.
Khun Namchai concludes that the vegetablegarden is about style, but lifestyle. It is aboutthe choice to consume chemical free andhealthy vegetables, eating the things we want,and to feel good about it. It is also about thesatisfaction of watching our crops grow, andthe efficient use of natural resources, andsharing them with others. The vegetablegarden is indeed a gratifying lifestyle.
มีคนถามผมเรื่องการปลูกการปลูกผักแบบมีสไตล์ในบ้าน และภูมิปัญญาไทยรั้วกินได้ ในฐานะภูมิสถาปนิก ผมเคยชินกับการที่คนคิดว่าผมประกอบอาชีพออกแบบสวน และมักจะได้รับคำถามแบบนี้เสมอๆ แต่เอาล่ะ ผมจะลองเขียนเรื่องสวนครัวดูสักครั้ง
เอาเรื่องภูมิปัญญาก่อน การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้คงไม่ใช่ภูมิปัญญาของไทยเพียงชาติเดียวเพราะคนในที่ต่างๆ บนโลกนี้ก็ปลูกพืชที่ขึ้นได้ในอากาศของภูมิภาคนั้นๆ เลือกชนิดที่ตนเองนิยมกินว่าอร่อยมีประโยชน์ มีขนาดต้นและความแน่นที่พอเหมาะสำหรับตัดแต่งเป็นแนวรั้วกั้นอาณาเขตหรือบังสายตาได้
รั้วกินได้ที่คนไทยนิยม เห็นกันบ่อยๆ ก็มีกระถินชะอม มะกรูด ผักหวานบ้าน เป็นต้น ถ้าตัดยอดกินบ่อยๆ รั้วของท่านก็จะแตกยอดอ่อนแลดูสดชื่นและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ ผมเคยคิดว่าถ้าทุกบ้าน คอนโดมิเนียม อาคารต่างๆ ในเมือง ปลูกรั้วกินได้เสริมด้วยตะแกรงเหล็กโปร่งเพื่อกันคนบุกรุกแทนรั้วคอนกรีตทึบหรือวัสดุแข็งชนิดอื่น ก็คงจะเป็นที่ชื่นตาชื่นใจแก่คนที่เดินผ่านไปมา อาจจะช่วยลดความเครียดจากการติดอยู่บนถนนหรือสูดดมมลพิษบนทางเท้าไปได้มาก
หรือรั้วกินได้ที่เป็นผักเลื้อยอย่าง ถั่วพู ถั่วฝักยาวมะระ แตงร้าน บวบ น้ำเต้า ตำลึง ฟัก ฯลฯ น่าจะปลูกเป็นรั้วได้ทุกชนิดเช่นกัน ซึ่งข้อดีคือไม่ต้องการพื้นที่มาก แต่ต้องมีรั้วโปร่งให้มันเกาะขึ้นไปได้ ซึ่งอาจจะเป็นรั้วเหล็กตะแกรงแบบรั้วสนามบาส หรือถ้ามีงบก่อสร้างมากขึ้นอาจจะเลือกใช้ตะแกรงอลูมิเนียมซึ่งมีความหนาและความถี่ให้เลือกหลายแบบ รวมทั้งสามารถทำสีต่างๆ ได้ตามต้องการ แปลงผักของพี่สายัณห์ ชาเครือ
Style vs Lifestyle
ปลูกผักสวนครัวแบบใหนจึงจะสวย? ผมคิดว่าการปลูกผักสวนครัวไม่ได้ต้องการรูปแบบ (Style)แต่เป็นการใช้ชีวิต (Lifestyle) มากกว่า เพราะคนปลูกผักกินเองเป็นคนที่เลือกที่จะใช้เวลาและกำลังเพื่อที่จะได้บริโภคของที่ปลอดภัย และมีความสุขจากการได้เห็นการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกเองความงามจึงเกิดจากการมีประโยชน์และการใช้ทรัพยากรอันจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
ผมเพิ่งไปเยี่ยมพี่สายัณห์ที่บ้านกลางทุ่งนาของเขาพี่สายัณห์เคยขายแรงงานอยู่ในกรุงเทพหลายปีและตัดสินใจกลับไปอยู่บ้านที่นครพนม ปลูกแทบทุกอย่างที่ต้องกินอยู่รอบๆ บ้าน และปลูกผักปลอดสารพิษในพื้นที่ประมาณ 400 ตารางเมตร ใช้ปุ๋ยจากน้ำชีวภาพที่หมักเอง ผมให้ดูแปลงผักของพี่สายัณห์ ผมเข้าใจว่าเขาทำแปลงผักตรงๆ เพราะเข้าไปรดน้ำได้สะดวก ระยะห่างระหว่างแปลงเว้นไว้ให้พอดีกับการเดินผ่าน ความกว้างของแปลงให้พอดีกับการยื่นแขนเข้าไปพรวนดินปลูกหญ้าได้ผมไม่แน่ใจว่าพี่สายัณห์สนใจเรื่อง ModernMovement, Minimalism หรือ Functionalismหรือเปล่า แต่ผมว่าแปลงผักของพี่สายัณห์สวยมาก
หลายคนอาจจะคิดว่าเพราะพี่สายัณห์มีที่เยอะจึงทำแบบนั้นได้ แต่การปลูกผักกินเองไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ ขอให้มีแดดเพียงพอ หากพื้นที่แคบมากก็สามารถทำสวนแนวตั้งได้ อย่างเช่นรั้วผักเลื้อยอย่างที่กล่าวตอนต้น หรือการนำผักที่ปกติขึ้นในแนวราบขึ้นไปปลูกบนกำแพงก็ทำได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น แปลงผักบนหลังคาของคณะภูมิสถาปัตยกรรม-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่พัฒนากระถางปูนสำเร็จรูปสำหรับปลูกผักแนวตั้งและเป็นโครงสร้างรั้วในตัวเอง ปลูกผักที่กินในชีวิตประจำอย่างกะเพราแมงลัก สะระแหน่ หรือจะปลูกบนระบบผนังเขียวที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกจากการใช้อย่างแพร่หลายของแพทริก บลังค์ นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ปลูกพืชในกระเปาะผ้าสักหลาดซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวนำน้ำและปุ๋ยไปเลี้ยงพืชด้วยในตัว
แต่อย่าลืมว่าผักส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ต้องการการรื้อ เปลี่ยน ปลูกใหม่ อาจมีบางช่วงที่ดูไม่สวยงาม แต่การได้สุขภาพกายและใจที่ดี ได้กินของอย่างที่ต้องการ เป็นอาหารปากอาหารใจของเราเองและบางโอกาสยังเผื่อแผ่เป็นอาหารตาให้คนอื่นได้ด้วย ผมว่าก็เป็น Lifestyle ที่โสภาไม่น้อยนะครับ
บน : ผนังเขียวระบบผ้าสักหลาด ที่ Vertical Living Gallery by Sansiri (Photo credit- Wison Tungthanya) ล่าง : ไม้เลื้อยบนตะแกรงอลูมิเนียมสีน้ำตาล ที่ Ideo Morph, Sukhumvit 38 by Ananda Development
(Photo credit-Shma)
ขอขอบคุณ นายสายัณห์ ชาเครือ บ้านต้นแหน อ.นาแก จ.นครพนม รศ.พาสินี สุนากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Source: VOL 02 ISSUE 01 FEB / MAR 2013